ปลดล็อคข้อมูลพรีเมียม: ส่วนลดสูงสุดถึง 50% InvestingProรับส่วนลด

ลุ้นผลการประชุม FOMC ชี้ชะตาทิศทางเงินดอลลาร์และตลาดการเงิน

เผยแพร่ 25/07/2565 09:22
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยง จากรายงานผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ดีกว่าคาดและตลาดเริ่มคลายกังวลโอกาสเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง
  • ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC Meeting) รวมถึงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ (GDP Q2/2022) และรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนโดยเฉพาะหุ้นเทคฯ ใหญ่ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดทิศทางตลาดการเงินในช่วงนี้

  • เงินดอลลาร์อาจจบรอบขาขึ้นแล้ว หากเฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ตามคาดและไม่ได้ส่งสัญญาณพร้อมเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์อาจพอได้แรงหนุนจากภาวะปิดรับความเสี่ยง หากตลาดผิดหวังกับรายงานผลประกอบการและข้อมูลเศรษฐกิจยุโรปแย่กว่าคาด (กดดันเงินยูโรอ่อนค่าลง) ส่วนเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ต้องระวังความผันผวนในช่วงการประชุมเฟด ซึ่งตลาดการเงินไทยปิดทำการ ทั้งนี้ เราคงมุมมองเดิมว่า เงินบาทจะไม่อ่อนค่ารุนแรง หากจีนไม่ได้ใช้มาตรการ Lockdown อีกครั้ง นอกจากนี้ เงินบาทอาจได้แรงหนุนจาก แรงซื้อหุ้นไทยจากนักลงทุนต่างชาติ และโฟลว์ขายทำกำไรการรีบาวด์ของราคาทองคำ

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    36.30-36.90
    บาท/ดอลลาร์

  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดมองว่า รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ อาจสะท้อนภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น อาทิ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดย Conference Board (Consumer Confidence) ในเดือนกรกฎาคม ที่จะลดลงต่อเนื่องสู่ระดับ 96.9 จุด กดดันโดยภาวะเงินเฟ้อสูงและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น นอกจากนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 2 อาจขยายตัวเพียง +0.5%q/q จากผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อสูงและผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทว่า Atlanta Fed ประเมินว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็มีโอกาสหดตัว -1.6%q/q ในไตรมาสที่ 2 ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะ Technical Recession (เศรษฐกิจหดตัวสองไตรมาสติดต่อกัน) ทั้งนี้ เราคาดว่า แนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงมากขึ้น กอปรกับเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะปานกลางที่ลดลงต่อเนื่อง จะทำให้เฟดตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพียง 0.75% สู่ระดับ 2.25-2.50% ซึ่งเรามองว่า หากเฟดไม่ได้ส่งสัญญาณพร้อมเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงต่อเนื่อง ก็อาจบอกได้ว่า นโยบายการเงินเฟดได้มาถึงจุด Peak Hawkishness เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กดดันให้เงินดอลลาร์ทยอยอ่อนค่าลงได้ และนอกเหนือจากผลการประชุมเฟดและรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะหุ้นเทคฯ ใหญ่ อย่าง Meta (Facebook), Amazon, Apple (NASDAQ:AAPL), Alphabet (Google (NASDAQ:GOOGL)), และ Microsoft เป็นต้น โดยเราคาดว่า ตลาดพร้อมเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หากผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนโดยรวมออกมาดีกว่าคาด

    • ฝั่งยุโรป – ความกังวลวิกฤติพลังงานที่อาจเกิดขึ้น หากรัสเซียลดหรือยุติการส่งแก๊สธรรมชาติให้กับยุโรป รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อสูง อาจยิ่งกดดันให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนี (Ifo Business Climate) ในเดือนกรกฎาคม ดิ่งลงต่อเนื่องสู่ระดับ 90 จุด นอกจากนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปอาจยิ่งดูแย่ลงได้ หากเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวเพียง +0.1%q/q หรือราว +3.4%y/y ชะลอตัวลงจาก +0.6%q/q หรือ +5.4%y/y ในไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งสาเหตุหลักมาจากผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อสูง อนึ่ง นักวิเคราะห์เริ่มคาดว่า แรงกดดันต่อเงินเฟ้อของยูโรโซนอาจเริ่มลดลงในเดือนกรกฎาคม ตามการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าพลังงาน ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) อาจชะลอเหลือ 8.5% ทว่าระดับดังกล่าวก็ยังสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ 2% ไปมาก ทำให้ ECB ยังมีแนวโน้มเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง

    • ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่า ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ของญี่ปุ่นในเดือนมิถุนายน จะขยายตัว 0.2%m/m จากอานิสงส์ของการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ทว่า ยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงนี้ อาจกดดันความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) ในเดือนกรกฎาคม จนลดลงสู่ระดับ 31 จุด และอาจกระทบต่อแนวโน้มยอดค้าปลีกในอนาคตได้ในที่สุด

    • ฝั่งไทย – ตลาดมองว่า ยอดการส่งออก (Exports) ในเดือนมิถุนายนอาจโตราว +10%y/y ทว่า ราคาสินค้าพลังงานรวมถึงผลจากการอ่อนค่าของเงินบาทจะยิ่งหนุนให้ยอดการนำเข้า (Imports) เพิ่มสูงขึ้น +19%y/y ทำให้ ดุลการค้ายังคงขาดดุลราว 1.2 พันล้านดอลลาร์ และเป็นอีกปัจจัยที่กดดันดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงนี้

    Weekahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย