ปลดล็อคข้อมูลพรีเมียม: ส่วนลดสูงสุดถึง 50% InvestingProรับส่วนลด

ลุ้นข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ พร้อมกับติดตามรายงานประชุมเฟดและ ECB ล่าสุด

เผยแพร่ 04/07/2565 08:00
อัพเดท 09/07/2566 17:32
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินยังคงผันผวนหนักจากความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวหนัก หลังรายงานข้อมูลจากประเทศเศรษฐกิจหลักแย่กว่าคาด
  • ตลาดจะรอจับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงรายงานการประชุมของเฟดและECB เพื่อประเมินทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลัก

  • เงินดอลลาร์ยังมีแนวโน้มผันผวน โดยภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลงชัดเจนขึ้นหรือข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาแย่กว่าคาดและท่าทีไม่เร่งรีบขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงของเฟดจะเป็นปัจจัยกดดันให้เงินดอลลาร์มีโอกาสย่อตัวลงได้บ้าง แต่เงินดอลลาร์ยังพอมีแรงหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย หากตลาดปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) มากขึ้น ส่วนเงินบาทยังมีโอกาสอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้านใหม่ 35.75 บาทต่อดอลลาร์ได้ ตามภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดที่กดดันให้ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติไหลออกต่อเนื่อง นอกจากนี้ ต้องระวังความผันผวนของเงินบาทในช่วงรับรู้รายงานเงินเฟ้อทั่วไป ทั้งนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทอาจถูกชะลอด้วยแรงขายของผู้ส่งออกที่ต่างรอจังหวะเงินบาทอ่อนค่า รวมถึงโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรการรีบาวด์ของราคาทองคำ

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    35.30-35.80
    บาท/ดอลลาร์

  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯ – ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงหนักและเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย จากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด จะทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างติดตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาดีกว่าคาด หรือ แย่กว่าคาด สามารถส่งผลต่อแนวโน้มการปรับนโยบายการเงินของเฟดได้ โดยตลาดมองว่า ภาคการบริการของสหรัฐฯ ที่คิดเป็นสัดส่วนราว 70% ของเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงสะท้อนผ่าน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (ISM Services PMI) เดือนมิถุนายนที่จะลดลงสู่ระดับ 54 จุด (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว) ส่วนตลาดแรงงานสหรัฐฯ อาจยังสะท้อนภาพความแข็งแกร่งอยู่โดยยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ในเดือนมิถุนายน อาจเพิ่มขึ้นราว 2.7 แสนราย ทำให้อัตราว่างงานทรงตัวที่ระดับ 3.6% อย่างไรก็ดี หากข้อมูลตลาดแรงงานออกมาแย่กว่าคาด อาทิ อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.7% รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ชะลอตัวลงก่อนหน้า อาจทำให้เฟดไม่สามารถเร่งขึ้นดอกเบี้ยได้รุนแรงอย่างที่ตลาดเคยกังวล ทั้งนี้ ตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เช่น Williams, Waller และ Bullard รวมถึงรายงานการประชุมเฟดล่าสุดที่เฟดได้ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% เพื่อประเมิน ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายเฟด โดยเฉพาะมุมมองของเฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ท่ามกลางความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัวลงหนักและอาจเข้าสู่สภาวะถดถอยที่เพิ่มสูงขึ้น

    • ฝั่งยุโรป – ตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยเฉพาะประธาน ECB รวมถึงรอวิเคราะห์รายงานการประชุม ECB ล่าสุด เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับนโยบายการเงินของ ECB ท่ามกลางแรงกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อสูง ขณะที่ภาพเศรษฐกิจเริ่มชะลอลงมากขึ้น ซึ่งผู้เล่นในตลาดบางส่วนเริ่มประเมินว่า ECB อาจจำเป็นต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยคล้ายกับเฟด โดย ECB อาจเริ่มขึ้นดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคม 0.50% เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ แต่ปัญหาที่ ECB ต้องระมัดระวังคือ แนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังคงได้รับผลกระทบจากสงครามและปัญหาเงินเฟ้อสูง รวมถึงปัญหาภาระหนี้ของบรรดาประเทศสมาชิก ที่ล่าสุดความกังวลปัญหาดังกล่าวได้ถูกสะท้อนผ่านส่วนต่างระหว่างบอนด์ยีลด์ 10 ปี ของประเทศสมาชิก อย่าง อิตาลี สเปน โปรตุเกส กับเยอรมนีที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งตลาดก็มองว่า ECB อาจจำเป็นต้องออกมาตรการหรือเครื่องมือทางการเงินเพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว (Anti-Fragmentation Tool)

    • ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่า ปัญหาเงินเฟ้อสูง ท่ามกลางแนวโน้มการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเป็นปัจจัยให้บรรดาธนาคารกลางในเอเชีย ยกเว้น จีน สามารถทยอยขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ โดยธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) อาจขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 2.25% ในขณะที่ ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) มีโอกาสที่จะเร่งขึ้นดอกเบี้ยกว่า 0.50% สู่ระดับ 1.35% หลังเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นและมีโอกาสที่ RBA อาจขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในอนาคต หากเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นมากกว่าคาด

    • ฝั่งไทย – เราคาดว่า เงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือนมิถุนายนอาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 8.0% (ตลาดคาด 7.5%) ตามการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าพลังงาน รวมถึงอาหารและการส่งผ่านต้นทุนสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น โดยหากเงินเฟ้อสูงกว่าคาดไปมากก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนยังคาดหวังว่าอาจมีการประชุม กนง. รอบพิเศษเพื่อปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งมุมมองดังกล่าวอาจทำให้บอนด์ยีลด์ระยะสั้นผันผวนและปรับตัวสูงขึ้นได้ หลังรายงานข้อมูลเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ปัญหาเงินเฟ้อสูงที่กดดันการใช้จ่ายของผู้บริโภคอาจส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) ลดลงสู่ระดับ 40 จุด ในเดือนมิถุนายน กดดันแนวโน้มการบริโภคของครัวเรือนในระยะนี้ได้

    Weekahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย