ปลดล็อคข้อมูลพรีเมียม: ส่วนลดสูงสุดถึง 50% InvestingProรับส่วนลด

DOWNSIDE ต่อประมาณการ GDP เปิดอีกครั้ง

เผยแพร่ 08/06/2565 09:42
อัพเดท 09/07/2566 17:32

สัญญาณของการเปิด Downside ของประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจ กลับมา อีกครั้ง โดยล่าสุด World Bank ปรับลดประมาณการ World GDP Growth ปี 2565 ลงจาก 4.1% มาเหลือเพียง 2.9% ถือเป็นการปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วถูกปรับลดจาก 3.8% มาอยู่ที่ 2.6% ขณะที่จีนถูกปรับ ลดจาก 5.1% เหลือ 4.3% สำหรับบ้านเราถูกปรับลดจาก 3.9% มาอยู่ทึ่ 2.9% การปรับลดดังกล่าวสะท้อนความเสี่ยงที่รออยู่ข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงเชิง ภูมิรัฐศาสตร์ ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่สูง และความเสี่ยงจากาการเดิน นโยบายการเงินตึงตัว ซึ่งภาวะดังกล่าวน่าจะสร้างแรงกดดันต่อการทำกำไรของ บริษัทจดทะเบียนในอตาคต ส่วนบ้านเราวันนี้รอติดตามการประชุม กนง. ซึ่งคาด ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5%

SET Index น่าจะผันผวนอยู่ในกรอบ 1625 – 1645 จุด พอร์ตจำลองให้ สลับหุ้น PLANB น้ำหนัก 5% มาเป็นหุ้น KSL ส่วนการถือครองเงินสดสำรองยังคงไว้ที่ 10% ตามเดิม หุ้น Top Pick เลือก CENTEL, KSL และ TFG

WORLD BANK ปรับ GDP GROWTH โลกลง ขณะที่ DOWNSIDE ยังมี

ธนาคารโลก (World Bank) ได้ปรับลดการเติบโตของเศรษฐกิจโลกหรือ GDP Growth ใน ปีนี้ลงเหลือ +2.9% (จากเดิมเคยคาดไว้ที่ +4.1% เมื่อต้นปี) โดยประธาน World Bank กล่าวว่าเศรษฐกิจโลกกำลังกลับมาอยู่ในจุดอันตรายอีกครั้ง และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Stagflation หรือภาวะเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวที่อ่อนแอ แต่ค่าเงินเฟ้อกลับพุ่งขึ้นสูง โดย การปรับลดตัวเลข GDP Growth ลงมาจาก 3 เหตุผลหลักๆดังน

1. ผลกระทบจากการทำสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน

2. การที่จีนใช้มาตรการ Lock Down ที่เข้มงวด ทำให้การผลิตและบริโภคลดลง

3. ภาวะห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่ขัดข้อง จนทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อสูง

ในส่วนของไทย World Bank ได้ปรับประมาณการ GDP ลงจาก 3.9% เหลือ 2.9% ซึ่ง สอดคล้องกับสำนักวิจัยต่างๆ ได้ออกมาปรับลดตัวเลขคาดการณ์ GDP Growth ก่อนหน้า นี้ที่คาดว่า GDP Growth ปี 2565 อยู่ในกรอบ 2.5% - 3.5% อย่างไรก็ตามหลังจากที่ รัฐบาล ตัดสินใจเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา โดยผ่อนคลายมาตรการควบคุมจนใกล้ ภาวะปกติ คาดทำให้ภาคธุรกิจต่างๆ กลับมาเปิดดำเนินการได้ตามปกติเหมือนช่วงเวลา ก่อนที่ Covid-19 จะระบาด แล้ะเป็นตัวหนุนให้ GDP Growth ไทย Downside จำกัด กว่าประเทศอื่นๆ

สรุป การปรับลดประมาณการ GDP ของ World Bank ในหลายประเทศนั้เป็นการ เปิด Downside ให้กับประมาณการอีกครั้ง โดยต้องติดตามสถานการณ์สงคราม ยูเครน-รัสเซีย ที่ยังคงยืดเยื้อและเงินเฟ้อยังทรงตัวระดับสูง โดยคาดวันนี้ SET Index แกว่งกรอบ 1625-1645 จุด

SOFT COMMODITIES ยังน่าสนใจ

ราคาไก่เป็นล่าสุดอยู่ที่ 44 บาท/กก. ปรับเพิ่มขึ้น 4.8% จากช่วง 2 สัปดาห์ก่อน ทำสูงสุด ในรอบ 6 ปี นอกจากนี้ ตลาดส่งออกไก่ไทยจะเติบโตต่อเนื่องในปี 2565 จากประเทศคู่ค้า ฟื้นตัวทั้งญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป อีกทั้ง การที่มาเลเซียประกาศจะระงับการส่งออกไก่ ตั้งแต่ 1 มิ.ย. 65 ถือเป็นผลบวกต่อผู้ประกอบการไก่ไทย ได้แก่ GFPT (FV@B17) TFG (FV@B6) และ CPF (FV@B32) ที่จะได้ลูกค้าใหม่ เช่น สิงคโปร์ หันมาสั่งซื้อไก่จากไทย มากขึ้น

ราคาสุกรหน้าฟาร์มปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนล่าสุดอยู่ที่ 113 บาท/กก. เพิ่มขึ้นถึง 8.7% จากช่วง 2 สัปดาห์ก่อน ทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากปัญหาสุกรขาดแคลน ถือเป็น ผลบวกต่อผู้ประกอบการสุกรในไทย ได้แก่ TFG และ CPF

ราคายางแท่งโลกล่าสุดอยู่ที่ 1.66 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เพิ่มขึ้น 2.8% ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จากความกังวลแนวโน้มผลผลิตยางพาราจะออกสู่ตลาดลดลง เพราะโรค ใบร่วงในต้นยางพาราที่อินโดนีเซีย และแนวโน้มความต้องการใช้ยางพาราโลกปรับสูงขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จึงแนะนำซื้อ NER และ STA

ราคาน้ำตาลดิบโลกล่าสุดอยู่ที่ 18.97 เซ็นต์/ปอนด์ ปรับลดลง 2.9% ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ ผ่านมา โดยยังเคลื่อนไหวในกรอบ 18-20 เซ็นต์/ปอนด์ ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ดีต่อเนื่อง โดยคาดปริมาณน้ำตาลโลกปี 2564/65 จะอยู่ในภาวะสมดุล ทั้งนี้ แม้ว่าอินเดีย (ผู้ผลิต น้ำตาลรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก) ประกาศจำกัดส่งออกน้ำตาลไม่เกิน 10 ล้านตัน จนถึง ต.ค. 65 (หลังจากอินเดียระงับส่งออกข้าสาลีตั้งแต่ 15 พ.ค. 65) ฝ่ายวิจัยประเมินว่า ประเด็นดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อราคาน้ำตาลโลก เพราะปกติอินเดียส่งออกน้ำมันไม่เกิน 10 ล้านตัน/ปี อยู่แล้ว โดยฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักแนวโน้มกำไรสุทธิกลุ่มน้ำตาลจะฟื้นตัวในปี 2565 ผลบวกจากแนวโน้มราคาขายน้ำตาลและแนวโน้มผลผลิตน้ำตาลที่สูงขึ้น จึงแนะนำ ซื้อ KSL (FV@B4.50) และเก็งกำไร KTIS KBS และ BRR

ราคาน้ำมันปาล์มดิบโลกล่าสุดอยู่ที่ 6.77 พันริงกิต/ตัน ลดลง 4.6% จากช่วง 2 สัปดาห์ ก่อน แต่ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้ อินโดนีเซีย (ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มดิบราย ใหญ่สุดของโลก ราว 60% ผลผลิตทั้งหมด) ได้ประกาศระงับส่งออกน้ำมันปาล์มชั่วคราว ตั้งแต่ 28 เม.ย. 65 แต่ก็ได้ยกเลิกประกาศดังกล่าวไปแล้วตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค. 65 โดย ราคาน้ำมันปาล์มปัจจุบันอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ถือเป็นผลบวกต่อผู้ประกอบการน้ำมัน ปาล์มดิบ UVAN UPOIC และ VPO และผู้ประกอบการน้ำมันปาล์มครบวงจร CPI และ LST

ราคาเมล็ดถั่วเหลือง (ต้นทุนของ TVO) ในตลาดโลก (CBOT) ตั้งแต่ต้นปีถึงวานนี้ปรับเพิ่ม 30% YTD อยู่ที 17.28 เหรียญสหรัฐฯ / บุชเชล (ราว 635 เหรียญสหรัฐฯ / ตัน) ตาม สภาวะเงินเฟ้อ และปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองทั่วโลกอิงจาก Stock to consumption ratio ตามรายงานของ USDA ช่วง พ.ค. 65 ที่ 26.4% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 4 ปีย้อนหลังที่ 29.1% อย่างไรก็ดีราคากากถั่วเหลือง (สินค้าขายของ TVO) ในตลาดโลก YTD ปรับเพิ่ม เพียง 1.4% อยู่ที่ประมาณ 460 เหรียญสหรัฐฯ / ตัน เหตุเพราะปริมาณกากฯ สูงขึ้นตาม การ Crush โรงสกัดน้ำมันพืชทั่วโลก เพื่อสกัดน้ำมันถั่วเหลืองขาย หลังราคาน้ำมันพืชทรง ตัวสูง จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครน ส่งผลต่อ Supply ฝั่งน้ำมัน ทานตะวันลดลง ในขณะที่ราคาขายกากถั่วเหลืองในประเทศเฉลี่ย พ.ค. 65 เพิ่มจากราคา เฉลี่ย ธ.ค. 65 ราว 16% แต่เริ่มลดลง 1% QoQ ประกอบกับราคาน้ำมันปาล์มในประเทศ ซึ่งเป็นสินค้าทดแทน ช่วง มิ.ย. เริ่มย่อตัวจาก 63 บาทต่อ กก. มาที่ 57 - 58 บาทต่อกก. ตามเหตุข้างต้น

ภาพรวมแนวโน้มราคากากถั่วเหลืองปรับขึ้นช้ากว่าเมล็ดถั่วเหลือง ทำให้คาดผลบวก ต่อการดำเนินงานของ TVO(FV@B35) อาจเด่นน้อยกว่า Soft Commodities ประเภทอื่น โดยฝ่ายวิจัยชอบกลุ่มไก่และสุกร อย่าง GFPT (FV@B17) TFG (FV@B6) และ CPF (FV@B32) รวมทั้งกลุ่มน้ำตาลอย่าง KSL(FV@B4.50) มากกว่า

ปิดฉาก FOCUS GROUP ดีลการควบรวม TRUE-DTAC

วานนี้ (7 มิ.ย. 65) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จัดรับฟังความเห็นสาธารณะในวงจำกัด (Focus group) ที่มีต่อการควบรวมระหว่าง บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) และ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากที่จัดไปแล้ว 2 ครั้ง ในวันที่ 9 พ.ค.65 และ 26 พ.ค. 65 ตามลำดับ โดยสามารถสรุปประเด็นข้อคิดเห็นในทั้ง 3 รอบได้ ดังนี

ครั้งที่ 1 (กลุ่มภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง) ผู้แสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่ให้ การสนับสนุนการควบรวม โดยให้เหตุผลว่าหากเกิดการควบรวมแล้วจะทำให้บริษัทใหม่ มี ความแข็งแกร่งทางการเงินมากขึ้น น่าจะก่อให้เกิดการลงทุนในโครงข่ายได้มากขึ้น จาก เดิมที่ผู้ประกอบการมือถือแต่ละรายประมูลคลื่นใหม่มาด้วยต้นทุนสูง ทำให้การลงทุนใน โครงข่ายของบางรายยังไม่เต็มที่ ส่วนคุณภาพบริการ ก็ต้องมีลูกค้ามากพอ ซึ่งการควบรวม น่าจะเป็นคำตอบ ขณะที่ส่วนใหญ่ไม่ได้กังวลเรื่องค่าบริการหลังการควบรวม เพราะมองว่า ที่ผ่านมา กสทช. ทำหน้าที่กำกับเรื่องค่าบริการได้ดีอยู่แล้ว

ครั้งที่ 2 (ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิพลเมือง) ผู้แสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่คัดค้าน การควบรวมของ TRUE และ DTAC โดยได้ให้เหตุผลสรุปได้ว่า หากเกิดการควบรวมจะ ส่งผลทำให้ 1) การกระจุกตัวของตลาดโทรศัพท์มือถือสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการผูกขาด มากขึ้น, 2) ทางเลือกของผู้บริโภคเหลือน้อยลง, 3) การที่มีผู้ให้บริการ 3 รายใหญ่ใน ปัจจุบัน ทำให้เกิดการแข่งขันกันตัดราคา โดยราคาค่าบริการยังต่ำกว่าราคาเพดาน ค่าบริการที่ กสทช. กำหนดไว้ 10% - 20% แต่เมื่อเกิดการควบรวม และหากการแข่งขัน หายไป ก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีการขยับขึ้นราคาค่าบริการขึ้นไปได้

ครั้งที่ 3 (ด้านผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์) ผู้แสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการ ควบรวม เนื่องจากมองว่าน่าจะก่อให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสีย ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อ ผู้บริโภค และความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพราะการควบรวมจะทำให้ต้นทุน ลดลงได้จากการใช้ทรัพยากรร่วมกัน นอกจากนี้ยังจะช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆทางเทคโนโลยี โดยในต่างประเทศ เมื่อเกิดการควบรวม แม้จะทำให้ราคาค่าบริการเพิ่มขึ้น แต่ ส่วนใหญ่มองว่า กสทช. จะสามารถกำกับดูแลไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนได้ เช่นเดียวกับใน ปัจจุบัน

โดยหลังจากจัดรับฟังความคิดเห็นจาก Focus group ครบทั้ง 3 กลุ่มแล้ว จะมีการรวบรวม สรุปรายงานความคิดเห็นของทุกกลุ่มเพื่อเสนอให้คณะกรรมการ กสทช. ตัดสินใจ โดย กสทช. เชื่อว่าขั้นตอนต่างๆที่เกี่ยวกับดีลการควบรวมครั้งนี้ได้ภายใน 10 ก.ค. 65 นี้

ฝ่ายวิจัยมองว่าการที่ผู้แสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่ 2 รอบ (รอบที่ 1 และ รอบที่ 3) ที่ สนับสนุนการควบรวม ย่อมเป็น sentiment เชิงบวกต่อหุ้น TRUE และ DTAC ใน ระยะสั้น แต่ในระหว่างที่รอความชัดเจนจาก กสทช. การแข่งขันในกลุ่มผู้ให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่จะยังคงความรุนแรงต่อไป

แม้กนง. อาจคงดอกเบี้ยในวันนี้ แต่อาจเห็น โอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยใน อนาคตมากขึ้น

วันนี้นักลงทุนรอติดตามดูผลการประชุมกนง. เวลา 14.00 น. โดยตลาดคาดว่า รอบนี้ยังมี การคงดอกเบี้ยที่ระดับ 0.5% แต่นักลงทุนต้องรอดูผลลัพธ์ว่าจะมีมติเป็นเอกฉันท์หรือไม่? รวมถึงมุมมองทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงถัดไปจะเป็นอย่างไร?

อย่างไรก็ตามในมุมมองของฝ่ายวิจัยฯ คาดว่ามีโอกาสเห็น กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น ในช่วงที่เหลือของปี ทั้งจากภาวะเงินเฟ้อเดือน พ.ค. 65 ยังเร่งตัวขึ้นถึง 7.1%yoy สูงสุดใน รอบ 13 ปี และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อ รวมถึงค่าเงินบาทที่ยังอยู่ในโซนอ่อนค่า ล่าสุดอยู่ที่ 34.46 บาท/เหรียญ (เพิ่มขึ้นมา 3.86%ytd) ทำให้เชื่อว่ากนง. มีโอกาสที่จะออกมาตรการ เพิ่มเติม เพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อ พร้อมกับรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท ในช่วงที่เหลือปี ขณะเดียวกันนักลงทุนเองก็มีมุมมองเห็นว่ากนง.มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้นเช่นกัน สะท้อนจาก Bond Yield 1 ปี ล่าสุดอยู่ที่ 0.66% สูงกว่าดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ถึง 15 bps.

ดังนั้นทั้งโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยที่มากขึ้น รวมถึง Spread หรือส่วนต่างดอกเบี้ยไทย และสหรัฐที่มีโอกาสถูกทิ้งห่างมากขึ้น ล้วนกดดันให้สภาพคล่องในตลาดหุ้นไทยจากนัก ลงทุนต่างชาติ หรือ Fund Flow มีโอกาสชะลอลงในช่วงถัดไป

กลยุทธ์การลงทุนวันนี้เลือกหุ้นได้แรงหนุนจากปัจจัยภายนอก อย่าง หุ้นอาหารส่งออก KSL, TFG และหุ้นเปิดเมืองราคาย่อตัวลงมา CENTEL เป็น Top pick

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย