ปลดล็อคข้อมูลพรีเมียม: ส่วนลดสูงสุดถึง 50% InvestingProรับส่วนลด

เงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม เร่งขึ้นสู่ระดับ 7.1%จากราคาสินค้าพลังงานและ อาหารเป็นหลัก

เผยแพร่ 06/06/2565 16:26
อัพเดท 09/07/2566 17:32

Headline Inflation May 2022

Actual: 7.10% Previous: 4.65%

KTBGM: 6.90% Consensus: 5.85%

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคม เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สู่ระดับ 7.10% จากราคาพลังงานและราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ การยกเลิกมาตรการตรึงราคาแก๊สหุงต้มและปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ก็มีส่วนหนุนเงินเฟ้อ

  • ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มองว่า เงินเฟ้อในเดือนมิถุนายนยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงต่อ หลังราคาสินค้าพลังงานยังอยู่ในระดับสูงและมีการขยายเพดานตรึงราคาน้ำมันดีเซล นอกจากนี้ ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคก็มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นตามต้นทุนการผลิต กระทรวงพาณิชย์คงประมาณการแนวโน้มเงินเฟ้อไทยที่ระดับ 4.0%-5.0%

  • ความไม่แน่นอนของราคาน้ำมันดิบที่ยังมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นต่อได้ จากสภาวะตลาดน้ำมันตึงตัว ทำให้เรามองว่า เงินเฟ้อทั่วไปมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อและจุดสูงสุดอาจไม่ได้อยู่ในไตรมาสที่ 2 โดยเรามองว่า เฉลี่ยทั้งปี 2565 เงินเฟ้อทั่วไปอาจสูงกว่า 5.00%

  • อย่างไรก็ดี หากการปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อยังอยู่ในวงจำกัด และความคาดหวังเงินเฟ้อระยะปานกลางยังคงอยู่ในระดับเดิม เรามองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะให้น้ำหนักการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากกว่าเงินเฟ้อ โดย กนง. จะยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% ได้ตลอดในปีนี้ ทั้งนี้ เราจะจับตาการปรับประมาณการเศรษฐกิจและท่าทีของ กนง. ในการประชุมเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ เพื่อประเมินการส่งสัญญาณการปรับนโยบายการเงินของ กนง. ในอนาคต

กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ 7.10% เร่งตัวขึ้น จากระดับ 4.65% ในเดือนเมษายน

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนล่าสุด ปรับตัวขึ้น 1.40% จากเดือนก่อนหน้า เร่งตัวขึ้นจากที่ปรับตัวขึ้นราว +0.34% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้นราว +1.0% นอกจากนี้ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงก็พุ่งขึ้น +7.7% หลังรัฐบาลขยายเพดานตรึงราคาน้ำมันและราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกก็ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ ผลของการปรับค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ก็มีส่วนช่วยหนุนราคาหมวดเคหสถานเพิ่มขึ้น +0.77% จากเดือนก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อน

  • เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เงินเฟ้อทั่วไปเร่งขึ้นสู่ระดับ 7.10% จาก 4.65% ในเดือนก่อนหน้า จากราคาสินค้าพลังงาน อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวขึ้นในอัตราเร่งขึ้น +36% จาก +30% ในเดือนเมษายน ส่วนราคาอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์โดยรวมปรับตัวขึ้นราว +6% เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของราคาต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ

  • กระทรวงพาณิชย์ มองว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายนอาจอยู่ในระดับสูง จากราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูงจากปีก่อนหน้า รวมถึงการขยายเพดานตรึงราคาน้ำมัน ขณะเดียวกันราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค ก็มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คงมุมมองว่า โดยทั้งปีเฉลี่ยเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 4.0%-5.0% และอาจมีการปรับประมาณการได้ หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ

เราเตรียมปรับประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2565 ใหม่ โดยมองว่ามีโอกาสที่จะ สูงกว่า 5.00% แต่ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของไทยยังคงไม่เผชิญแรงกดดันมากนัก

  • แม้ว่ากลุ่มโอเปกพลัสเตรียมเพิ่มกำลังการผลิต เพื่อชดเชยส่วนที่หายไปจากรัสเซีย แต่สภาวะตลาดน้ำมันโลกที่มีแนวโน้มตึงตัวไปอีกนาน จะยังเป็นปัจจัยหนุนให้ระดับราคาสินค้าพลังงานยังอยู่ในระดับสูง ขณะเดียวกันในฝั่งเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ก็มีแนวโน้มเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่า 2.00% ตามโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เริ่มดีกว่าคาดและการส่งผ่านของต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี อาจสูงกว่า 5.00% ได้

  • แม้ว่า เราเตรียมปรับประมาณการเงินเฟ้อสูงขึ้นจากเดิมพอสมควร แต่แรงกดดันเงินเฟ้อส่วนใหญ่ยังคงมาจากสินค้าพลังงานและอาหารเป็นหลัก ทำให้เรามองว่า การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้ายังไม่เป็นวงกว้าง อีกทั้ง คาดการณ์เงินเฟ้อในระยะปานปลางก็มีแนวโน้มคงอยู่ใกล้ระดับ 2.00% ทำให้ เราคงมองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังคงไม่เผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อมากนัก และ กนง. จะยังให้ความสำคัญต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจเป็นหลัก ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 0.50% ได้ในปีนี้ อย่างไรก็ดี เราจะติดตามการประชุม กนง. ที่จะถึงนี้ อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินการส่งสัญญาณปรับนโยบายการเงิน หลัง กนง. อาจมีการปรับประมาณการเศรษฐกิจใหม่

  • อนึ่ง เรามองว่า ระดับบอนด์ยีลด์ระยะสั้น รวมถึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น อย่าง THOR 1 ปี และ 2 ปี ได้สะท้อนแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ กนง. ไปมากพอสมควรแล้ว อาทิ ระดับบอนด์ยีลด์ 2 ปี ที่ 1.58% หรือ THOR 2 ปี ที่กว่า 1.85% ได้สะท้อนมุมมองของตลาดที่คาดว่า กนง. อาจเร่งขึ้นดอกเบี้ยได้ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 3 ปีนี้ และขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง อย่างน้อย 6 ครั้ง หรือ Terminal Rate ไม่น้อยกว่า 2.00% ซึ่งเรามองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังไม่สามารถรับมือการเร่งขึ้นดอกเบี้ยในระดับดังกล่าวได้

  • ดังนั้น หาก ธปท. ไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ อย่างที่ผู้เล่นในตลาดเริ่มคาดการณ์ไว้ เรามองว่า ระดับบอนด์ยีลด์ระยะสั้น หรือ อัตราดอกเบี้ย THOR ระยะสั้น ในปัจจุบัน ก็อยู่ในระดับที่ “Fairly Valued” และมีความน่าสนใจให้ผู้เล่นในตลาดเข้ามาถือ หรือ หาจังหวะปรับเปลี่ยนต้นทุนการกู้ยืมเงินได้

 

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย