ปลดล็อคข้อมูลพรีเมียม: ส่วนลดสูงสุดถึง 50% InvestingProรับส่วนลด

ลุ้นตลาดเปิดรับความเสี่ยงต่อ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงสดใส

เผยแพร่ 30/05/2565 08:38
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดพลิกกลับมาเปิดรับความเสี่ยง ท่ามกลางความหวังว่าเฟดอาจไม่สามารถเร่งขึ้นดอกเบี้ยไปได้มาก อย่างที่ตลาดเคยกังวลไว้
  • ตลาดจะรอติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านรายงานดัชนี PMI และยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม นอกจากนี้ ตลาดจะจับตา ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด รวมถึง ธนาคารกลางยุโรป (ECB)

  • เงินดอลลาร์อาจถูกกดดันจากภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดและท่าทีของเฟดที่อาจไม่ได้เร่งรีบขึ้นดอกเบี้ย นอกจากนี้ หากบรรดาเจ้าหน้าที่ ECB ต่างส่งสัญญาณสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยก็อาจยิ่งกดดันเงินดอลลาร์ได้ อย่างไรก็ดี ต้องระวังโอกาสตลาดพลิกกลับมาปิดรับความเสี่ยงจากความกังวลเศรษฐกิจถดถอย หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจออกมาแย่กว่าคาดส่วนเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าทดสอบแนวรับโซน 34.00 บาทต่อดอลลาร์ หากตลาดเปิดรับความเสี่ยงต่อเนื่อง ทว่าเงินบาทจะไม่แข็งค่าไปมาก เนื่องจากผู้นำเข้าต่างรอทยอยซื้อเงินดอลลาร์ใกล้แนวรับดังกล่าว นอกจากนี้ ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติอาจชะลอการไหลเข้าสู่สินทรัพย์ไทย จนกว่าจะมีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามาหนุน

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    34.00-34.40
    บาท/ดอลลาร์

  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดมองว่าภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังคงฟื้นตัวได้ดีอยู่ แม้ว่าจะเผชิญแรงกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อ รวมถึงนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการ ( ISM Manufacturing & Services PMIs) ในเดือนพฤษภาคมที่อาจลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ 55 จุด และ 56.9 จุด ตามลำดับ (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว) นอกจากนี้ ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งอยู่ โดยยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) เดือนพฤษภาคม จะเพิ่มขึ้นราว 3.3 แสนราย ทำให้อัตราการว่างงานปรับลดลงเหลือ 3.5% ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจโดยเฟดสาขาต่างๆ หรือ Fed Beige Book เพื่อช่วยประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรายงานอาจยังคงระบุแนวโน้มการขยายตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจ ทว่าภาคธุรกิจอาจมีความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจมากขึ้นจากปัญหาเงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด นอกจากนี้ ตลาดจะจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมิน ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายเฟด โดยเฉพาะมุมมองของเฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ รวมถึงโอกาสที่เฟดอาจชะลอการขึ้นดอกเบี้ย หลังเฟดพร้อมเร่งขึ้นดอกเบี้ย 0.50% สองครั้ง

    • ฝั่งยุโรป – ตลาดคาดว่า เงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ของยูโรโซนในเดือนพฤษภาคม อาจเร่งตัวขึ้นแตะระดับ 7.7% จากระดับราคาอาหารและพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนอย่างมาก ซึ่งปัญหาเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูงจะหนุนโอกาสธนาคารกลางยุโรป (ECB) ทยอยขึ้นดอกเบี้ยได้ในปีนี้ ซึ่งผู้เล่นในตลาดเริ่มมองว่า ECB อาจทยอยขึ้นดอกเบี้ย จนอัตราดอกเบี้ยไม่ติดลบได้ภายในไตรมาสที่ 3 ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ ECB ในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของ ECB นอกจากนี้ ตลาดจะรอประเมินภาพรวมเศรษฐกิจยุโรป ผ่านยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนเมษายน โดยคาดว่ายอดค้าปลีกอาจขยายตัวเล็กน้อย +0.1% จากเดือนก่อนหน้า หลังผู้บริโภคเผชิญแรงกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อสูงมากขึ้น และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ตลาดจะรอติดตามความคืบหน้าของการประชุมสหภาพยุโรป เพื่อหาข้อสรุปมาตรการคว่ำบาตรพลังงานจากรัสเซีย โดยหากสหภาพยุโรปประกาศคว่ำบาตรการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย ต้องติดตามต่อว่า รัสเซียจะตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวอย่างไร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าพลังงานได้

    • ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่นมีแนวโน้มคึกคักมากขึ้นตามการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ทำให้ยอดค้าปลีกเดือนเมษายนขยายตัวได้ราว 0.9% จากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ภาพการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะสะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) เดือนพฤษภาคมที่อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 33.8 จุด ส่วนในฝั่งจีน ตลาดมองว่า ทั้งภาคการผลิตและภาคการบริการมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องในเดือนพฤษภาคม โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการยังคงอยู่ที่ระดับ 48 จุด และ 45 จุด ตามลำดับ (ดัชนีต่ำกว่า 50 จุด หมายถึง ภาวะหดตัว) อย่างไรก็ดี ภาคการผลิตและการบริการของจีนมีแนวโน้มพลิกกลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้น หลังสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนดีขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ทางการจีนอาจทยอยผ่อนคลายหรือยุติมาตรการ Lockdown ได้ในเดือนมิถุนายน อีกทั้งทางการจีนและธนาคารกลางจีน (PBOC) ก็ได้ทยอยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม รวมถึงใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น

    • ฝั่งไทย – ภาคการผลิตอุตสาหกรรมอาจขยายตัวในอัตราชะลอลงจากผลกระทบของนโยบาย Zero COVID ในจีนรวมถึงต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตในเดือนพฤษภาคมอาจลดลงสู่ระดับ 51.5 จุด เช่นเดียวกันกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Business Sentiment) ก็มีแนวโน้มปรับตัวลดลงสู่ระดับ 47.5 จุด สะท้อนความกังวลของภาคธุรกิจท่ามกลางปัญหาเงินเฟ้อสูงและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ที่อาจกระทบเศรษฐกิจไทยได้

    Weekahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย