🚀 ProPicks AI ให้ผลตอบแทนถึง 34.9%อ่านเพิ่มเติม

ประเด็นรัสเซียยูเครน ยังกดดันสินทรัพย์เสี่ยง

เผยแพร่ 07/03/2565 10:25
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ตลาดหุ้นทั่วโลกอยู่ในโหมดความกังวลประเด็นรัสเซีย - ยูเครน ยืดเยื้อ หรือ ขยายวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ แบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ 1). ความกังวลว่าจะเกิด Inverted Yield Curve โดยปัจจุบันเม็ดเงินลงทุน ไหลเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัยสูงจนส่วนต่าง Bond Yield สหรัฐ 10 ปี กับ 2 ปีเหลือเพียง 24 bps. ซึ่งหากย้อนดูในปี 2019 ช่วง 1 เดือนก่อนเกิดจุด ต่ำสุด Inverted Yield Curve ที่ -5 bps. ดัชนี SET ปรับฐานแรงถึง 6% แต่จะค่อยๆ ทยอยฟื้นหาก Inverted Yield Curve ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2). ราคา Commodity ปรับขึ้นแรงทำให้เกิดความกังวลต่ออัตราเงินเฟ้อที่จะตามมา ล่าสุดราคาน้ำมันขึ้นไปแตะระดับ 130 เหรียญ/บาร์เรล และเงินเฟ้อไทยเดือน ก.พ. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.8% สูงสุดในรอบ 13 ปี หากประเด็นรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อมีโอกาสเห็นเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นต่อในเดือน มี.ค. และ เม.ย.

วันนี้ประเมินกรอบการเคลื่อนไหว SET Index ที่ 1655 – 1680 จุด กลยุทธ์ เลือกหุ้นสินค้าจำเป็นหลบความกังวลเงินเฟ้อ MAKRO DTAC และหุ้น Commodity ราคา Laggard อย่าง PTT (BK:PTT) เป็น Toppick

รัสเซีย-ยูเครนจ่อเจรจาวันนี้ แต่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ขยับต่อ

ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนยังมีน้ำหนักต่อตลาดการเงินของโลกต่อเนื่อง แม้การเจรจาครั้งที่ 2 ระหว่าง 2 ประเทศจะเพิ่งผ่านพ้นไปไม่นาน โดยวันศุกร์ที่ผ่านมา รัสเซียได้เข้าโจมตีและยึดครองโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดของยูเครน ขณะที่ การเจรจารอบที่ 3 ของทั้ง 2 ประเทศ ตัวแทนเจรจาจากยูเครนกล่าวว่า การเจรจารอบ ที่ 3 จะเกิดขึ้นในวันนี้จึงเป็นประเด็นที่ตลาดจะให้น้ำหนักต่อไป

อย่างไรก็ตาม ASPS มองว่า ภาพรวมผลกระทบในเชิงลบมีน้ำหนักต่อตลาดมากกว่า สะท้อนจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพลังงาน เช่น ถ่านหินเพิ่มขึ้น 14.5%, น้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 6-7% และช่วงเช้านี้ ราคาน้ำมันดิบเพิ่มอีก 8- 9% หลังรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐเผยว่า สหรัฐและยุโรปกำลังพิจารณาความเป็นไป ได้ที่จะคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันของรัสเซีย

ทั้งนี้ ราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นสูงจากความกังวลรัสเซีย-ยูเครนเป็น Sentiment บวกต่อ หุ้นกลุ่มน้ำมัน-โรงกลั่น เช่น PTTEP, PTT, TOP, PTTGC, IVL, IRPC เป็นต้น แต่ทว่า ความกังวลก็อาจส่งผลกระทบต่อ Supply chain ของกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เช่นกัน เพราะรัสเซีย-ยูเครนเป็นแหล่ง Supplier หลักของก๊าซ C456 และ Neon ที่ใช้ ในขั้นตอนการผลิตแผ่น wafer รวมถึงโละหะอื่นๆเช่น Palladium, Aluminum, Nickel, Titanium ที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่ง หากความขัดแย้งนี้ยืดเยื้อจะกดดันปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนให้ยืดเยื้อไปนานกว่า 2H65 ได้ซึ่งส่งผลกระทบต่อแนวโน้มรายได้และประสิทธิภาพการทำกำไรของกลุ่มชิ้นส่วนฯ อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นกลุ่มชิ้นส่วนฯปรับฐานไปมากตั้งแต่ต้นปี 2565 สะท้อนความ กังวลดังกล่าวไปในระดับหนึ่งแล้ว โดยฝ่ายวิจัยแนะนำยังคงคำแนะนำซื้อ KCE (FV@B90) แม้ระยะสั้นจะได้รับผลกระทบจากแผนการขยายกำลังการผลิตที่โรงงาน ลาดกระบังและอยุธยาที่ล่าช้ากว่าคาด กดดันแนวโน้มกำไรสุทธิ 1Q65 ทำได้เพียงทรง ตัวจาก 4Q64 แต่มองว่าทิศทางกำไรจะกลับมาเติบโตอีกครั้งตั้งแต่งวด 2Q65 เป็นต้น ไป โดยแนะนำให้เน้นซื้อลงทุนในระยะกลาง-ยาว

ความเสี่ยงรัสเซีย-ยูเครนกระทบไทยจำกัด แต่ไล่ Flow ออกจากสินทรัพย์เสี่ยง

จากความสถานการณ์ความตึงเครียดรัสเซีย-ยูเครนที่ยังคงอยู่ และมีความไม่แน่นอนสูง ส่งให้ Fund Flow ยังมีแนวโน้มไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง (Risk Asset) ไปยัง สินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) สะท้อนจาก ตลาดหุ้นโลกปรับลง เช่น ยุโรปลดลง 3- 4%, สหรัฐลดลง 0.5-1.7%, เอเชียเช้านี้ ลดลง 0.7-2.8% สวนทางกับราคาทองคำ

เพิ่มขึ้น 1.8%, ค่าเงิน Dollar Index แข็งค่า 0.9%, Bond Yield สหรัฐลดลง โดยเฉพาะช่วงอายุกลาง-ยาว โดย Sentiment ในเชิงลบจากตลาดต่างประเทศ จะ ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสแกว่งตัวในแดนลบตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ASPS เชื่อว่า ผลกระทบจากความกังวลรัสเซีย-ยูเครนต่อไทย น่าจะมี จำกัด สะท้อนจากทั้ง 2 ประเทศนี้ มีสัดส่วนใน GDP ไม่มากนัก โดยมีสัดส่วนรวมกัน ราว 3.5% ของ GDP โลกปี 2564 ขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 33 ของรัสเซีย จึงคาด ว่ากระทบจำกัดจากผลกระทบต่อไทยที่ค่อนข้างจำกัดข้างต้น จึงแนะนำให้อาศัยจังหวะที่ตลาดหุ้นไทย ถูกกดดันจากความกังวลรัสเซีย-ยูเครน เป็นช่วงที่เข้าทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง และกำไรมีแนวโน้มฟื้นตัว

กระแส Invert Yield Curve กลับมาอีกครั้ง คาดกดดัน SET ระยะสั้น ชอบ PTT MAKRO DTAC

สงครามยูเครน-รัสเซียที่มีความตึงเครียดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เม็ดเงินย้ายเข้าสู่สินทรัพย์ ปลอดภัยมากขึ้นตามลำดับ สังเกตจาก ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา Bond Yield 10 ปี สหรัฐฯ ลดลงจาก 2.06% เหลือ 1.73% ขณะที่ Bond Yield 2 ปีสหรัฐฯกลับทรงตัว โดยล่าสุดอยู่ที่ 1.48% จึงมีความกังวลว่าจะเกิด Invert Yield Curve ได้ในอนาคต

ซึ่งล่าสุด 10 -2 Yield Spread US เหลือเพียง 0.24% เท่านั้น ซึ่งในอดีตปี 2019 เคย เกิด Inverted Yield Curve ราว 1 สัปดาห์ ที่จุดต่ำสุดที่ระดับ -0.05% และก่อนเกิด จุดต่ำสุด Inverted Yield Curve ราว 1 เดือน SET Index ปรับฐาน -6.7% และ Fund Flow ต่างชาติไหลออก 5.4 หมื่นล้านบาท แต่พอ Inverted Yield Curve ฟื้น SET Index ก็ฟื้นตามมาในเวลาต่อมา

โดย Sector ที่ Outperform SET Index ในช่วง 1 เดือนก่อนเกิด Inverted Yield Curve US ปี 2019 คือ ICT +1.8% TRANS -0.9% COMM -2.3% FOOD -2.6% MEDIA -5.6% และ FIN -6.3%

สรุป ด้วยปัจจัยกดดันรอบด้านที่ถาโถมเข้ามา ฝ่ายวิจัยฯจึงประเมินกรอบการ เคลื่อนไหว SET Index วันนี้ 1655-1680 จุด กลยุทธ์เลือกหุ้นสินค้าจำเป็นหลบ ความกังวลเงินเฟ้อ MAKRO DTAC และหุ้น Commodity ราคา Laggard อย่าง PTT เป็น Toppick

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย