🚀 ProPicks AI ให้ผลตอบแทนถึง 34.9%อ่านเพิ่มเติม

จับตาทิศทางนโยบายการเงินธนาคารกลางหลัก หลังรัสเซียบุกโจมตียูเครน

เผยแพร่ 28/02/2565 08:47
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินผันผวนอย่างหนัก โดยตลาดปิดรับความเสี่ยงรุนแรงหลังรัสเซียโจมตียูเครน
  • สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรติดตามอย่างใกล้ชิด โดยภาวะสงครามที่เกิดขึ้นได้กลายเป็นตัวแปรใหม่ต่อการตัดสินใจนโยบายการเงินของบรรดาธนาคารกลางหลัก จึงควรติดตาม ท่าทีของธนาคารกลางหลักต่อการปรับนโยบายการเงิน หลังเกิดภาวะสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนขึ้น

  • ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ความขัดแย้ง อาจหนุนให้ผู้เล่นในตลาดยังคงถือเงินดอลลาร์ จนกว่าจะเห็นความสำเร็จของการเจรจาเพื่อยุติปัญหาความขัดแย้ง ทั้งนี้ เงินดอลลาร์ก็อาจยังได้แรงหนุน หากบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดยังคงสนับสนุนการเร่งขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ ส่วนเงินบาทมีแนวโน้มผันผวนในกรอบกว้าง ตาม risk sentiment ในตลาด อนึ่ง ในระยะสั้น เรามองว่า แนวรับสำคัญยังคงเป็นโซน 32.00 บาทต่อดอลลาร์ เนื่องจากผู้นำเข้าต่างรอซื้อเงินดอลลาร์และนักลงทุนต่างชาติบางส่วนก็อยากขายทำกำไร ณ โซนดังกล่าว ส่วนแนวต้านจะอยู่ใกล้ระดับ 32.80-32.90 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งผู้ส่งออกต่างรอขายเงินดอลลาร์

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    32.00-32.80
    บาท/ดอลลาร์

  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดคาดว่า ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง หลังการระบาดโอมิครอนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและบริการ (ISM Manufacturing & Services PMIs) เดือนกุมภาพันธ์ที่จะปรับตัวขึ้นแตะระดับ 58 จุด และ 61 จุด ตามลำดับ (ดัชนีเกินระดับ 50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว) ส่วนตลาดแรงงานก็ฟื้นตัวแข็งแกร่ง โดยยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) จะเพิ่มขึ้น 4 แสนตำแหน่ง หนุนให้อัตราการว่างงานลดลงเหลือ 3.9% ทั้งนี้ ตลาดจะให้ความสนใจถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่อผลกระทบของสงครามที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ รวมถึงการตัดสินใจนโยบายการเงินของเฟด โดยตลาดจะรอลุ้น การแถลงต่อสภาคองเกรสของประธานเฟด Jerome Powell ซึ่งคาดว่าจะมีการพูดถึงผลกระทบของสงครามต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแนวโน้มการปรับนโยบายการเงินของเฟดในอนาคต

    • ฝั่งยุโรป – สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอนสูง แม้ว่าจะมีรายงานว่าทั้งสองฝ่ายเตรียมเจรจาเพื่อหาทางออก โดยตลาดการเงินพร้อมปิดรับความเสี่ยงอย่างรวดเร็ว หากสงครามมีความรุนแรงขึ้น หรือ ทั่วโลกเดินหน้าใช้มาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงขึ้นต่อรัสเซีย อนึ่ง การประกาศตัดสถาบันการเงินรัสเซียบางส่วนจากระบบ SWIFT อาจส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดเทขายหุ้นกลุ่มการเงิน โดยเฉพาะ สถาบันการเงินอิตาลีและฝรั่งเศส ที่มีการทำธุรกรรมกับรัสเซียในสัดส่วนที่สูง นอกจากนี้ ควรติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยเฉพาะประธาน ECB ถึงมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อหลังเกิดสงครามขึ้น รวมถึงท่าทีของ ECB ต่อการปรับนโยบายการเงินในอนาคต สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ตลาดประเมินว่า สถานการณ์การระบาดของโอมิครอนในยุโรปที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนักจะทำให้ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนมกราคมมีแนวโน้มโตกว่า +1.5% จากเดือนก่อนหน้า ทว่าผลกระทบของสงครามอาจส่งผลให้การใช้จ่ายของผู้คนชะลอตัวลงได้ในไตรมาสแรกของปีนี้

    • ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่าผลกระทบจากการระบาดของโอมิครอนในญี่ปุ่นจะกดดันการใช้จ่ายครัวเรือนในเดือนมกราคม โดยยอดค้าปลีกจะหดตัวถึง -1.2% จากเดือนก่อนหน้า ส่วนในฝั่งของจีน ภาพรวมเศรษฐกิจจะยังคงได้รับผลกระทบจากการระบาดของโอมิครอนและการใช้มาตรการ Zero COVID โดยเฉพาะภาคการบริการที่จะขยายตัวในอัตราชะลอลง ชี้จาก ดัชนี PMI ภาคการบริการในเดือนกุมภาพันธ์จะลดลงสู่ระดับ 50.7 จุด เช่นเดียวกันกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่อาจหดตัวลง สะท้อนผ่าน ดัชนี PMI ภาคการผลิตที่จะลดลงสู่ระดับ 49.8 จุด ทั้งนี้ แนวโน้มการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจออสเตรเลียและมาเลเซีย ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อยังมีไม่มากนัก จะช่วยหนุนให้ธนาคารกลางทั้งสองประเทศสามารถคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบันต่อได้ โดยตลาดมองว่า ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) และธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) อาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.10% และ 1.75% ตามลำดับ

    • ฝั่งไทย – ตลาดมองว่า ยอดการส่งออกในเดือนมกราคมมีแนวโน้มขยายตัวราว +18%y/y ตามภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกหลังการระบาดโอมิครอนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก อย่างไรก็ดี ยอดการนำเข้าอาจพุ่งขึ้นกว่า +21%y/y จากราคาสินค้าพลังงานที่เร่งตัวสูงขึ้น ทำให้ดุลการค้าในเดือนมกราคมอาจขาดดุลเล็กน้อย นอกจากนี้ การทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าในเดือนกุมภาพันธ์อาจหนุนให้ภาคการผลิตขยายตัวดีขึ้น โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตอาจปรับตัวขึ้นแตะระดับ 52 จุด ขณะเดียวกัน ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Business Sentiment) ก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับ 47.8 จุด เช่นกัน อนึ่ง ระดับราคาสินค้าพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องและฐานของค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่อยู่ในระดับต่ำของปีก่อนหน้าจากมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายของภาครัฐ จะหนุนให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ในเดือนกุมภาพันธ์ พุ่งขึ้นแตะระดับ 4.1%

    Weekahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย