🚀 ProPicks AI ให้ผลตอบแทนถึง 34.9%อ่านเพิ่มเติม

เศรษฐกิจไตรมาสสี่ ขยายตัว +1.9%y/y ดีกว่าคาด ตามการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown

เผยแพร่ 21/02/2565 13:07
  • GDP Q4 2021

  • Actual: +1.9%y/y Previous: -0.2%y/y

    Consensus: +0.7%y/y

    • เศรษฐกิจไทยไตรมาสสี่พลิกกลับมาขยายตัว +1.9% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน หนุนโดยการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของ COVID-19 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ นอกจากนี้ เศรษฐกิจได้แรงหนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้าและบริการตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

    • แม้เศรษฐกิจไทยอาจสะดุดลงในช่วงต้นปี 2022 จากปัญหาการระบาดของโอมิครอน แต่เราคงมองว่าเศรษฐกิจในปีนี้ อาจโตได้ราว +3.8% หลังผลกระทบจากการระบาดของโอมิครอนรุนแรงน้อยกว่าคาด ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวกลับขึ้นได้ดี นอกจากนี้ หากปัญหาการระบาดของ COVID-19 ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลอีกต่อไปของหลายประเทศ เรามองว่าแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ก็สามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มที่ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้และช่วยหนุนการเติบโตเศรษฐกิจได้

    • อนึ่ง ภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจยังไม่ได้ดีขึ้นทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคการบริการที่ต้องฝากความหวังไว้กับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% ตลอดปีนี้ และเรามองว่า เศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวหลุดพ้นจากวิกฤติ COVID-19 ได้ ในช่วงกลางปีหน้า เปิดโอกาสให้ ธปท. สามารถปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้

    สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Real GDP) ประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2021 ขยายตัวถึง +1.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งดีกว่าที่ตลาดคาดที่ +0.7%

    • เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสี่ของปี 2021 ขยายตัวราว +1.9% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยหนุนมาจากการส่งออกสินค้าและบริการ รวมถึงการใช้จ่ายของภาครัฐที่ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น ขณะเดียวกัน การทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด COVID-19 และอานิสงส์ของมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐฯ ก็ได้หนุนให้ การบริโภคเอกชนพลิกกลับมาขยายตัวราว +0.3%y/y จากที่หดตัว -3.2%y/y ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งจากการขยายตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจในไตรมาสที่สี่ ส่งผลให้ทั้งปี 2021 เศรษฐกิจโตได้ถึง +1.6%y/y

    • สศช. คงคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2022 จะขยายตัว 3.5%-4.5% โดยเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากความต้องการบริโภคที่เพิ่มสูงจากหลังการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown รวมถึงการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะกลับมาเที่ยวประเทศไทยถึง 5.5 ล้านคน นอกจากนี้เศรษฐกิจจะยังได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนที่จากภาครัฐที่อาจโตถึง +4.6%

    • ปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยยังคงมีอยู่และต้องจับตาอย่างใกล้ชิด อาทิ 1. ความไม่แน่นอนของการระบาด COVID-19 โดยเฉพาะการกลายพันธุ์ที่อาจต้านทานวัคซีนและยารักษา 2. ปัญหาเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นตามราคาสินค้าพลังงานและโภคภัณฑ์ซึ่งอาจสร้างภาระต้นทุนการผลิต 3. ภาระหนี้สินของครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจกดดันการฟื้นตัวของความต้องการใช้จ่ายในประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดแรงงานยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ 4. ปัญหา Supply Chain ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออก 5. แนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารกลางหลัก ส่งผลให้ตลาดการเงินผันผวน และ 6. ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์

    เราคงมองว่าอัตราการเติบโตเศรษฐกิจไทยปีนี้จะอยู่ที่ +3.8% หนุนโดยการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกและการท่องเที่ยวที่จะกลับมาฟื้นตัวแข็งแกร่งท้ายปี

    • ธีม Reopening & Recovery จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเป็นสิ่งที่ผู้เล่นในตลาดได้รับรู้มาพอสมควรแล้ว ดังจะเห็นได้จากฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ทั้งหุ้นและบอนด์ ที่ทยอยกลับมาเป็นฝั่งซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่อง จนมียอดซื้อสินทรัพย์ไทยสุทธิกว่า 2 แสนล้านบาท ภายในเวลาไม่ถึง 2 เดือน ซึ่งมุมมองของผู้เล่นต่างชาติดังกล่าว สอดคล้องกับมุมมองของเราที่ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะทยอยฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่องและอาจโตได้ถึง +3.8% โดยประเด็นการระบาด COVID-19 หากไม่มีการกลายพันธุ์ที่น่ากังวล ก็อาจไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป หลังทั่วโลกได้ระดมการแจกจ่ายวัคซีนกระตุ้น อีกทั้งเริ่มมีการทยอยอนุมัติการใช้ ยา PAXLOVID ที่มีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงการป่วยหนักหรือเสียชีวิตจาก COVID-19 ได้ดี ทำให้หลายประเทศเริ่มปรับแผนรับมือการระบาดมาเป็นการใช้ชีวิตร่วมกับ COVID-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะสามารถทยอยฟื้นตัวดีขึ้น นอกจากนี้ เราเชื่อว่า ภาพดังกล่าวจะช่วยให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมีความมั่นใจในการเดินทางท่องเที่ยวและทำให้การท่องเที่ยวไทยสามารถฟื้นตัวได้ดีในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยเราคงมองว่าอาจมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยถึง 6 ล้านคน

    • แนวโน้มเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวทำให้ เราเชื่อว่า ธปท. จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวสู่ระดับก่อนวิกฤติ โดยเราคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับสู่ระดับก่อนวิกฤติได้ในช่วงกลางปี ซึ่งเป็นจังหวะที่เหมาะสมต่อการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก อย่างไรก็ดี ควรระวังโอกาสบอนด์ยีลด์ระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้น หากเศรษฐกิจฟื้นตัวดีกว่าคาด จนทำให้เริ่มมีเสียงสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยจากฝั่งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) โดยเฉพาะในช่วงการประชุม กนง. ปลายปีนี้

    Thailand GDP

    Foreign Fund Flows

    Latest GDP

     

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย