🚀 ProPicks AI ให้ผลตอบแทนถึง 34.9%อ่านเพิ่มเติม

กนง. “คง” ดอกเบี้ยที่ 0.50% หนุนการขยายตัวตัวเศรษฐกิจ จนตลาดแรงงานกลับมาแข็งแกร่ง

เผยแพร่ 09/02/2565 16:45
อัพเดท 09/07/2566 17:32

Bank of Thailand Benchmark Interest Rate

Actual: 0.50% Previous: 0.50%

KTBGM: 0.50% Consensus: 0.50%

  • กนง. มีมติเอกฉันท์ ให้ “คง” ดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% ตามคาด หลังเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง เนื่องจากการระบาดของโอมิครอนมีผลกระทบในวงจำกัด ส่วนอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี จากราคาสินค้าเพียงบางกลุ่ม กนง. จึงมองว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายยังมีความจำเป็นเพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจการคลัง

  • แรงกดดันเงินเฟ้อยังไม่ใช่ประเด็นหลักต่อการตัดสินใจของ กนง. โดย กนง. มองว่ายังไม่เห็นสัญญาณการเร่งตัวขึ้นราคาสินค้าและบริการเป็นวงกว้าง อีกทั้งแรงกดดันเงินเฟ้อจากอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ เรามั่นใจว่า กนง. จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% จนกว่าเศรษฐกิจจะกลับมาสู่ระดับก่อนวิกฤติ COVID-19 นอกจากนี้หนึ่งในปัจจัยที่คาดว่า กนง. ให้ความสนใจ คือ ภาวะตลาดแรงงาน

  • ทั้งนี้ เรามองว่า อาจเริ่มเห็นเสียงแตกในบรรดา กนง. ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี หากบรรดาธนาคารกลางหลักขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วกว่าคาด อาทิ เฟดขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 5 ครั้ง ในปีนี้ หรือเงินเฟ้อไทยเร่งตัวขึ้นสูงมากกว่าคาด

  • การประชุมครั้งถัดไป: 30 มีนาคม 2565

กนง. มีมติเอกฉันท์ ให้ “คง” ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% หลังเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายยังจำเป็นอยู่ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจ ควบคู่กับมาตรการทางการคลัง

  • กนง. มองว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องและในปีนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ดีกว่าประมาณการครั้งก่อน หนุนโดยการส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้นและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเพิ่มขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการเดินทางเร็วกว่าคาด อย่างไรก็ดี ในการประชุมครั้งนี้ กนง. ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มสูงกว่าที่เคยประเมินไว้และอาจสูงกว่ากรอบเป้าหมายในช่วงครึ่งแรกของปี จากการปรับตัวขึ้นของราคาพลังงานและราคาอาหารสดบางประเภท แต่ยังไม่เห็นการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าและบริการในวงกว้างเหมือนในต่างประเทศ ซึ่ง กนง. มองว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจการคลังจะช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ กนง. จึงยังคงเห็นควรให้คงดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้

  • พร้อมกันนี้ กนง. ยังมองว่า มาตรการทางการคลังควรสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้ตรงจุดมากขึ้นหลังการเปิดประเทศ โดยเฉพาะการเน้นสร้างรายได้และยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจ อนึ่ง กนง. มองว่าสภาพคล่องในระดับการเงินอยู่ในระดับสูง แต่การกระจายสภาพคล่องยังแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน ทำให้มาตรการทางการเงินและสินเชื่อต้องเร่งกระจายสภาพคล่องที่มีอยู่สูงในระบบให้เข้าถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและรวดเร็ว เพื่อลดภาระหนี้และช่วยให้ทุกภาคส่วนทยอยฟื้นตัวได้

  • อย่างไรก็ดี กนง. ยังให้น้ำหนักการสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ทั้งนี้ กนง. จะติดตาม 1. สถานการณ์การระบาดหลังการเปิดประเทศ 2. ราคาพลังงานโลก 3. การส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้น และ 4. ความพอเพียงของมาตรการทางการคลังและด้านการเงิน/สินเชื่อ โดย กนง. พร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสม หากจำเป็น

กนง. ยังคงให้น้ำหนักการฟื้นตัวเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ส่วนปัญหาเงินเฟ้อสูงไม่ได้น่ากังวลนัก ทำให้ เรายังมั่นใจว่า ดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ 0.50% ไปจนถึงกลางปี 2023 ที่อาจจะเริ่มเห็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกได้

  • กนง. มีความมั่นใจการฟื้นตัวเศรษฐกิจมากขึ้นจากการประชุมครั้งก่อน หลังผลกระทบจากการระบาดของโอมิครอนไม่ได้รุนแรงมากนัก อย่างไรก็ดี ประเด็นเงินเฟ้อก็เป็นสิ่งที่ กนง. จับตาอยู่เช่นกัน แต่ทว่า เงินเฟ้อเพียงเร่งตัวขึ้นชั่วคราวจากราคาสินค้าบางประเภท ขณะที่ผลสำรวจความคาดหวังเงินเฟ้อของ กนง. ยังไม่ได้เร่งขึ้นในระยะปานกลางและระยะยาวอย่างมีนัยยะสำคัญ ทำให้ กนง. ไม่ได้กังวลประเด็นเงินเฟ้อมากนัก นอกจากนี้ กนง. ยังคงให้ความสำคัญการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นหลัก ทำให้เราคงมองว่า ดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ระดับ 0.50% จนกว่าเศรษฐกิจพ้นหลุม COVID-19 ซึ่งอาจเป็นช่วงกลางปี 2023 ดังนั้น บนสมมติฐานที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของ กนง. และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ดีในปี 2023 เราคาดว่า กนง. อาจตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ 1 ครั้ง สู่ระดับ 0.75% ในช่วงกลางปี 2023

  • อนึ่ง กนง. อาจเริ่มเผชิญแรงกดดันให้ต้องขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วกว่าคาด หากทั่วโลกเร่งขึ้นดอกเบี้ยได้เร็ว หรือ การเร่งขึ้นของราคาสินค้าและบริการขยายตัวเป็นวงกว้าง กดดันให้เงินเฟ้อเร่งขึ้นมากกว่าคาด โดย เรามองว่าแรงกดดันจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลัก โดยเฉพาะเฟด อาจทำให้ คณะกรรมการบางท่านอาจโหวต “ขึ้น” ดอกเบี้ยได้ในการประชุมช่วงปลายปี ซึ่งเป็นจังหวะที่เศรษฐกิจไทยก็ฟื้นตัวได้ดีขึ้นชัดเจน

  • เรามองว่า หากมีภาพเสียงแตกในการประชุม กนง. อาจเป็นแรงกดดันให้ บอนด์ยีลด์ระยะสั้นของไทยสามารถปรับตัวสูงขึ้นได้ ซึ่งผู้ประกอบการและนักลงทุนควรระมัดระวังความผันผวนในตลาดตราสารหนี้ที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี โดยผู้ประกอบการอาจพิจาณาหาจังหวะออกหุ้นกู้ในช่วงที่บอนด์ยีลด์ระยะสั้นยังเคลื่อนไหวในกรอบ sideways

MPC decision history

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย