รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 31.00-31.40 ต่อดอลลาร์

เผยแพร่ 15/09/2563 10:07

เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 31.32 ต่อดอลลาร์ USD/THB หลังซื้อขายในกรอบ 31.22-31.44 ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้น ไทย 1.7 พันล้านบาท แต่ซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 3.8 พันล้านบาท

เงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินยูโร USD/EUR และเงินเยน USD/JPY ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)ประกาศคงดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ -0.5% และระบุว่าโครงการซื้อสินทรัพย์ จะดําเนินต่อไปจนถึงปี 64 โดยอีซีบีคาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซน ในปีนี้จะหดตัวน้อยกว่าที่คาดไว้เดิม แต่อัตราเงินเฟ้ออาจอยู่ ต่ำกว่าเป้าหมายไปอีกหลายปี ส่วนเงินปอนด์แตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 7 สัปดาห์จากความกังวลประเด็น Brexit หลัง นายกรัฐมนตรีจอห์นสันของสหราชอาณาจักรวางแผนที่จะล้มเลิกข้อตกลงบางส่วนที"เคยลงนามไว้กับสหภาพยุโรป(อียู) ในเดือนม.ค.สําหรับส่วนที่เกี่ยวข้องกับไอร์แลนด์เหนือ

เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 31.00-31.40 ต่อดอลลาร์ ตลาดจะจับตาการประชุมธนาคารกลางหลายแห่ง นําโดย ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) วันที่ 15-16 ก.ย. ธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ) วันที่ 16-17 ก.ย. และธนาคารกลาง อังกฤษ(บีโออี) วันที่ 17 ก.ย. รวมถึงการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) คนใหม่เพื่อดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น และการหารือภายในสหราชอาณาจักรเกี่ยวกับแนวทางการแยกตัวออกจากอียู

นักลงทุนจะรอประเมินว่าเฟดจะให้ รายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับการปรับกรอบนโยบายไปสู่เป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ยหรือไม่ ทั้งนี้ เป็นที่คาดการณ์โดยทั่วไปว่าเฟดจะปรับลดประมาณ การดอกเบี้ย (Dot Plot) โดยส่งสัญญาณว่าดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ระดับต่ำต่อไปอีกราว 3 ปี เป็นอย่างน้อย กรณีเฟดสื่อสารเพิ่มเติมอย่างมีนัยสําคัญเกี่ยวกับกรอบนโยบายใหม่รวมถึงความมุ่งมั่นที่จะกดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ ในระดับต่ำมากเป็นเวลานาน เงินดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลง อนึ่ง ในสัปดาห์ที่ผ่านมาอีซีบีอาจทําให้ตลาดผิดหวังเนื่องจากไม่ได้แสดงความกังวลอย่างชัดเจนต่อการ แข็งค่าของเงินยูโร แต่เรามองว่ายูโรที่แข็งค่าขึ้นได้เพิ่มแรง กดดันด้านเงินฝืดและอีซีบีอาจจําเป็นต้องดําเนินมาตรการ ผ่อนคลายเพิ่มเติมในอนาคต ขณะที่ความไม่แน่นอนเรื่อง Brexit กลับมากดดันค่าเงินปอนด์อีกครั้ง ภาวะเช่นนี้อาจจํากัดแรงขายเงินดอลลาร์ได้เช่นกัน

สําหรับปัจจัยภายในประเทศ สถานการณ์ทางการเมืองจะมีน้ำหนักต่อกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายและ Sentiment ของ ค่าเงินบาทมากขึ้น แม้ภาพใหญ่จะยังคงถูกชี้นําโดยท่าทีของ เฟดและผลกระทบต่อเงินดอลลาร์ในตลาดโลก

บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย