รับส่วนลด 40%
🔥 กลยุทธ์การหุ้นคัดเลือกโดย AI ของเรา หุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่ ทะยานขึ้น +7.1% ในเดือน พฤษภาคม เข้าเทรดขณะหุ้นกำลังมาแรงรับส่วนลด 40%

แนวโน้มราคาทองคำจะขึ้นกับ ทิศทางเงินดอลลาร์ และบอนด์ยีลด์ 10 ปี

เผยแพร่ 29/04/2567 08:29
GC
-

Economic Highlight

ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ ผลการประชุม FOMC ของเฟด และรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ อย่าง ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) และ ดัชนี ISM PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของสหรัฐฯ พร้อมทั้งรอจับตา รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน และความเสี่ยงสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง

FX Highlight

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบ sideways ท่ามกลางปัจจัยกดดันฝั่งอ่อนค่า อาทิ ความกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด แรงขายสินทรัพย์ไทย และโฟลว์ธุรกรรมจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนต่างชาติ ทว่า เงินบาทก็ยังพอได้แรงหนุนจากการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ และโฟลว์ทยอยขายเงินดอลลาร์ของผู้เล่นในตลาดบางส่วน
  • เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อได้ หากผู้เล่นในตลาดยิ่งเชื่อว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่า 2 ครั้ง เช่น ลดดอกเบี้ยราว 1 ครั้ง หรือไม่ลดเลยในปีนี้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดชัดเจน 
  • ส่วนผลการประชุมเฟดนั้น เรามองว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25%-5.50% พร้อมย้ำจุดยืนใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด จนกว่าจะมั่นใจว่า อัตราเงินเฟ้อจะสามารถกลับเข้าสู่เป้าหมาย 2% ได้ ทว่า มุมมองดังกล่าวของเฟด ก็เป็นสิ่งที่ผู้เล่นในตลาดได้รับรู้ไปแล้วพอสมควร ทำให้ผลกระทบต่อตลาดการเงิน โดยเฉพาะเงินดอลลาร์อาจมีไม่มากนัก
  • ทว่า หากเฟดเริ่มส่งสัญญาณว่า มีโอกาสที่เฟดจะ “ขึ้น” ดอกเบี้ยได้ ในกรณีที่ภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง จนอัตราเงินเฟ้อเสี่ยงเร่งตัวขึ้น เราคาดว่า เงินดอลลาร์ก็มีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อได้
  • นอกเหนือจากแนวโน้มเงินดอลลาร์ เรามองว่า ควรจับตาทิศทางสกุลเงินหลักฝั่งเอเชีย ทั้งเงินหยวนจีน (CNY) และเงินเยนญี่ปุ่น (JPY)
  • โดยในส่วนเงินหยวนจีนก็เสี่ยงที่จะผันผวนอ่อนค่าได้เร็วและแรง หากทางการจีนยอมทยอยให้เงินหยวนผันผวนอ่อนค่าลง ซึ่งการอ่อนค่าของเงินหยวนจีน (เช่นทะลุโซน 7.30-7.35 หยวนต่อดอลลาร์) ก็อาจส่งผลกระทบกดดันให้บรรดาสกุลเงินฝั่งเอเชียผันผวนอ่อนค่าได้ 
  • ส่วนในฝั่งเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) เรามองว่า การอ่อนค่าลงของเงินเยนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เพิ่มโอกาสที่ทางการญี่ปุ่นอาจเข้าแทรกแซงค่าเงินเยน หลังเงินเยนได้กลับมาอ่อนค่าลงต่อเนื่อง จากโซนต่ำกว่า 156 เยนต่อดอลลาร์ ในช่วงก่อนรับรู้ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จนทะลุระดับ 158 เยนต่อดอลลาร์ ล่าสุด 
  • นอกจากนี้ หากบรรยากาศในตลาดการเงินพลิกกลับมาปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ก็อาจหนุนให้ผู้เล่นในตลาดเลือกถือเงินดอลลาร์เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) ซึ่งต้องจับตารายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน (โดยเฉพาะหุ้นเทคฯ ใหญ่ และหุ้นกลุ่ม Semiconductor) และสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง 
  • สำหรับ ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ เรามองว่า นักลงทุนต่างชาติอาจเริ่มกลับมาทยอยซื้อสินทรัพย์ไทยเพิ่มเติมได้ หลังตลาดหุ้นไทยได้ปรับฐานลงมาพอสมควร ขณะที่ Valuation ถือว่ายังถูกอยู่ ส่วนคาดการณ์ผลกำไรก็มีทิศทางดีขึ้น ส่วนฝั่งตลาดบอนด์นั้น ความกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด และการปรับคาดการณ์ของผู้เล่นในตลาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% ในปีนี้ ก็ได้สะท้อนไปในบอนด์ยีลด์ไทยพอสมควรแล้ว 
  • อีกปัจจัยที่สามารถกดดันให้เงินบาทผันผวนอ่อนค่าได้ในช่วงเดือนเมษายน จนถึงเดือนพฤษภาคม คือ โฟลว์ธุรกรรมจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งอาจสูงราว 1.2 หมื่นล้านบาทในสัปดาห์นี้ 
  • อนึ่ง ผู้เล่นในตลาดต่างก็รอทยอยขายเงินดอลลาร์/ขายทำกำไรสถานะ Short THB (มองเงินบาทอ่อนค่า) ตั้งแต่โซน 37 บาทต่อดอลลาร์ ไปต้นไป ซึ่งอาจช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้บ้าง แต่หากเงินบาทอ่อนค่าทะลุโซนดังกล่าวก็สามารถอ่อนค่าต่อสู่ระดับ 37.25 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นโซนอ่อนค่าสุดในปี 2023 ได้ไม่ยาก
  • ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจากทั้ง RSI MACD และ Stochastic (Time Frame รายวัน) ชี้ว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทได้แผ่วลงมากขึ้น และเงินบาทก็มีโอกาสแกว่งตัว sideways โดยต้องจับตาโซนแนวต้านแถว 37.00 บาทต่อดอลลาร์ (หากอ่อนค่าต่อชัดเจน จะมีแนวต้านถัดไป 37.25 บาทต่อดอลลาร์ )
  • ส่วนของ Time Frame ที่สั้นลง เช่น H4 และ H1 สัญญาณจากทั้ง RSI MACD  และ Stochastic ต่างสะท้อนว่า เงินบาทอาจแกว่งตัวในกรอบ sideways ตามโมเมนตัมการอ่อนค่าที่ชะลอลง โดยมีโซนแนวต้านแถว 37.10 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนแนวรับจะอยู่ในช่วง 36.80 บาทต่อดอลลาร์ (โซนถัดไป 36.50-36.60 บาทต่อดอลลาร์)  

Gold Highlight

  • ราคาทองคำเคลื่อนไหวผันผวนไปตาม ความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และความกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด อย่างไรก็ดี ราคาทองคำก็ยังขาดปัจจัยสนุบสนุนเพิ่มเติม ทำให้ราคาทองคำยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่องได้ 
  • เรามองว่า แนวโน้มราคาทองคำจะขึ้นกับ ทิศทางเงินดอลลาร์ และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ จากปัจจัยแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด โดยในสัปดาห์นี้ ควรระวังความผันผวนของราคาทองคำ ในช่วงตลาดรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และผลการประชุมเฟด
  • ส่วนสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่เริ่มกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง จากการเร่งโจมตีเมืองราฟาห์ของกองทัพอิสราเอล ก็พอจะเป็นปัจจัยที่ช่วยพยุงราคาทองคำในช่วงนี้ได้บ้าง และหากสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้น ก็อาจส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านล่าสุดแถว 2,400 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้
  • ทั้งนี้ หากความเสี่ยงสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางคลี่คลายลง แต่ตลาดยังมีความกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ราคาทองคำก็อาจปรับฐานได้พอสมควร 
  • ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ชี้ว่า ราคาทองคำยังคงเสี่ยงปรับฐานต่อได้ ส่วนสัญญาณจาก Time Frame ที่สั้นลง อย่าง H4 และ H1 ชี้ว่า ราคาทองคำอาจแกว่งตัว sideways ไปก่อน จนกว่าจะมีปัจจัยหนุนใหม่ๆ เพิ่มเติม  
นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย