🟢 ตอนนี้ตลาดกำลังทะยานขึ้น สมาชิกผู้ใช้บริการของเรากว่า 120K คน ต่างรู้ดีว่าควรทำอย่างไร คุณก็สามารถรู้ได้เช่นกันรับส่วนลด 40%

เตรียมลุ้น อัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ พร้อมจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด

เผยแพร่ 08/01/2567 13:48
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลง ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ที่หนุนให้ทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น
  • ควรเตรียมรับมือความผันผวนจาก รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด หลังรับรู้รายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ล่าสุด
  • เงินดอลลาร์ยังมีโอกาสแข็งค่าขึ้น หากอัตราเงินเฟ้อ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ไม่ได้ชะลอลงตามคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจต้องปรับลดความคาดหวังการลดดอกเบี้ยของเฟด จนอาจมองว่า เฟดมีโอกาสคงอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม ในส่วนของค่าเงินบาท โมเมนตัมการอ่อนค่ายังคงมีอยู่ ทำให้เงินบาทเสี่ยงที่จะผันผวนอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้าน 34.80 บาทต่อดอลลาร์ (โซนถัดไป คือ 35.00) หากผู้เล่นในตลาดต่างปรับลดความคาดหวังการลดดอกเบี้ยเฟด นอกจากนี้ ควรจับตาทิศทางราคาทองคำซึ่งอาจปรับตัวลดลงต่อได้ ขณะเดียวกัน บรรยากาศในตลาดการเงินจีนและทิศทางเงินหยวนจีน (CNY) ก็อาจสร้างความผันผวนต่อสกุลเงินฝั่งเอเชียได้ หากผู้เล่นในตลาดต่างกังวลปัญหาหนี้ในจีนมากขึ้น จากข่าวการยื่นล้มละลายของธนาคารเงารายใหญ่ Zhongzhi 
  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    34.35-35.00
    บาท/ดอลลาร์
  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ เดือนธันวาคม โดยผู้เล่นในตลาดจะให้ความสนใจ ต่อ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ซึ่งไม่รวมผลของราคาอาหารและพลังงาน ว่าจะมีทิศทางชะลอตัวลงต่อเนื่อง หรือ ไม่ โดยล่าสุด นักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า Core CPI อาจชะลอลงเล็กน้อยสู่ระดับ 3.8% จากระดับ 4.0% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งหากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงคาดหวังแนวโน้มการทยอยลดดอกเบี้ยของเฟด ที่ “เร็วและลึก” ต่อไปได้ ขณะที่ หากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ กลับเร่งตัวขึ้น หรือ ออกมาสูงกว่าคาด ก็จะส่งผลให้ ผู้เล่นในตลาดต่างปรับลดโอกาสที่เฟดจะสามารถลดดอกเบี้ยลงในการประชุมเดือนมีนาคม ซึ่งภาพดังกล่าวจะหนุนให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นได้ และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตา ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดที่มีมุมมองเป็นกลาง (Neutral) ต่อนโยบายการเงินของเฟด อาทิ Michael Barr (Voter), John Williams (Voter) และ Raphael Bostic (Voter) โดยผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาว่า บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดดังกล่าวจะมีการปรับมุมมองต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดบ้างหรือไม่ หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุด นั้น ออกมาผสมผสาน โดยเฉพาะในส่วนของดัชนี ISM ภาคการบริการ ที่ชะลอลงอย่างชัดเจนและออกมาแย่กว่าคาดไปมาก 
    • ฝั่งยุโรปบรรดาผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจของยูโรโซน และทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ อย่าง ยอดค้าปลีก (Retail Sales) รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (Sentix Investor Confidence) นอกจากนี้ ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มนโยบายการเงินของทั้ง ECB และ BOE   
    • ฝั่งเอเชียผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของจีน โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อ CPI เดือนธันวาคม ซึ่งคาดว่าอาจยังคง “ติดลบ” ราว -0.4% สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ยังมีปัญหาอยู่ ทั้งนี้ ยอดการค้าระหว่างประเทศของจีนก็เริ่มมีทิศทางฟื้นตัวดีขึ้นบ้าง โดยนักวิเคราะห์ประเมิน ยอดการส่งออก (Exports) เดือนธันวาคม ขยายตัว +1.6%y/y ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดี บรรยากาศในตลาดการเงินจีนอาจอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) หลังมีรายงานข่าวว่า  Zhongzhi ธนาคารเงา (Shadow Banking) รายใหญ่ของจีน ได้ยื่นล้มละลายต่อศาล ซึ่งภาพดังกล่าวอาจกดดันตลาดการเงินจีนและมีโอกาสส่งผลให้เงินหยวนจีน (CNY) ผันผวนอ่อนค่าได้ ในส่วนของนโยบายการเงิน นักวิเคราะห์ประเมินว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) อาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 3.50% หลังอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ชะลอตัวลงต่อเนื่องสู่ระดับ 3.2% ส่วนกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมก็มีทิศทางชะลอตัวลงบ้าง

     

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย