InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 34.10 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อเช้า นี้ที่ระดับ 34.13 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.07 - 34.21 บาท/ดอลลาร์ โดยอ่อนค่าตามเงินเยน หลังธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมวันนี้ ทั้งคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และคงนโยบายควบคุมเส้นอัตราผล ตอบแทนพันธบัตร (yield curve control program) ทำให้ตลาดผิดหวังเรื่องที่ไม่ยกเลิก yield curve control ส่งผลให้เงินเย นโดนเทขาย และทำให้บาทอ่อนค่าตามไปด้วย ด้านสกุลเงินในภูมิภาควันนี้เคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทาง นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันอังคารไว้ที่ 33.90 - 34.25 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 34.1240 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ 135.66 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 133.96 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ 1.0987 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1031 ดอลลาร์/ยูโร - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนมี.ค. 66 ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยมูลค่า การส่งออกไม่รวมทองคำปรับลดลง สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมและเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน ขณะที่เครื่องชี้การบริโภคภาค เอกชนทรงตัว หลังจากที่หมวดสินค้าคงทนได้เร่งไปในช่วงก่อนหน้า - สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 104.65 หดตัว 4.56% เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค. 65 แต่ขยายตัว 5.47% เมื่อเทียบจากเดือนก่อน ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 1/66 หดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 3.94% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยสำคัญ คือ ความต้องการซื้อจากต่างประเทศชะลอตัว - ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมวันนี้ตามคาด โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ - 0.1% และคงนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (yield curve control program) รวมทั้งคงอัตราผลตอบแทนพันธบัตร รัฐบาลญี่ปุ่นประเภทอายุ 10 ปีไว้ที่ราวระดับ 0% - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เรียกร้องในวันนี้ (28 เม.ย.) ให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เดินหน้าปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปจนถึงกลางปี 2567 และขอให้กลุ่มรัฐมนตรีคลังประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) คุมเข้มนโยบายการคลัง เพื่อฉุดเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย 2% - สำนักข่าวต่างประเทศ รายงาน เจ้าหน้าที่สหรัฐกำลังหารือกันเพื่อกอบกู้วิกฤตการณ์ธนาคารเฟิร์สท์ รีพับลิก แบงก์ (FRB) ซึ่งเป็นธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐ เนื่องจากภาคเอกชนซึ่งนำโดยกลุ่มที่ปรึกษาของ FRB ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้