โดย Barani Krishnan
Investing.com - ภาพรวมของตลาดพลังงานและโลหะมีค่าในสัปดาห์นี้มีดังต่อไปนี้
ภาพรวมตลาดพลังงาน
ราคาน้ำมันยังคงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่สี่ติดต่อกันเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา และปิดสัปดาห์ในแดนลบหลังจากตลาดน้ำมันได้ถล่มลงครั้งใหญ่เมื่อวันจันทร์
สัญญา WTI สำหรับการส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดบวก 44 เซนต์หรือราว 2.7% เท่ากับ $16.94 ต่อบาร์เรล เมื่อพิจารณารายสัปดาห์แล้วติดลบ 7%
สัญญาเบรนท์ ปิดบวก 11 เซนต์หรือราว 0.5% เท่ากับ $21.44 ต่อบาร์เรล และราคารายสัปดาห์ติดลบ 24%
แม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวขึ้นเป็นเวลาสี่วันติดต่อกัน แต่จำนวนสัญญาเปิดของสัญญา WTI สำหรับการส่งมอบเดือนถัดไปกลับลดลงเหลือใกล้เคียงกับสัญญาสำหรับการส่งมอบเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดีสำหรับผู้ที่เปิดสัญญาซื้อสำหรับสัญญาส่งมอบเดือนถัดไปของน้ำมันดิบ
Olivier Jakob ผู้ก่อตั้ง PetroMatrix เผยว่า “มีโบรกเกอร์จำนวนมากขึ้นที่เริ่มจำกัดการถือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบสำหรับการส่งมอบเดือนถัดไป ไม่เพียงแต่เฉพาะโบรกเกอร์ที่ซื้อขายในราคาที่ต่ำกว่าตลาดเท่านั้น"
ปฏิทินตลาดพลังงานสัปดาห์นี้
วันจันทร์ที่ 27 เมษายน
ตัวเลขคาดการณ์ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังจาก Genscape Cushing (ตัวเลขภาคเอกชน)
วันอังคารที่ 28 เมษายน
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐรายสัปดาห์จาก สถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกา (API)
วันพุธที่ 29 เมษายน
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐ จาก EIA
วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน
ปริมาณ ก๊าซธรรมชาติ คงคลังรายสัปดาห์ จาก EIA
วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม
จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันรายสัปดาห์จาก Baker Hughes
ภาพรวมตลาดโลหะมีค่า
ราคาทองคำยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ $1,700 ในวันศุกร์ เนื่องด้วยขาขึ้นของวอลล์สตรีทได้ช่วยชะลอขาลงของราคาทองคำขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวเข้าใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์
สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า สำหรับการส่งมอบเดือนมิถุนายนในตลาดโคเม็กซ์ของนิวยอร์กปิดลบ $9.80 หรือราว 0.6% เท่ากับ $1,735.60 ต่อออนซ์ สำหรับรายสัปดาห์ราคาทองคำปรับตัวขึ้น 2.3% เนื่องจากราคาทองคำได้ปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งสู่แดน $1,700 เมื่อวันพุธ
ราคาทองคำโลก อยู่ที่ $1,728.86 ปิดลบ $2.28 หรือราว 0.1% เท่ากับ $1,728.86 ส่วนราคาทองคำสำหรับเดือนมิถุนายนเมื่อพิจารณาเป็นรายสัปดาห์ได้ปรับขึ้นราว $45 หรือประมาณ 2.7%
ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐ คงตัวอยู่ที่ 100.44 หลังจากขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 18 วันที่ 100.98
แม้ว่าตลาดหุ้นสหรัฐจะค่อนข้างเสถียร แต่ผู้ลงทุนในตลาดทองคำยังมีประเด็นที่น่ากังวลในสัปดาห์นี้ ซึ่งก็คือการขยายเวลาการล็อกดาวน์ของอินเดียเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 และผลกระทบต่ออุปสงค์การซื้อทองคำจากอินเดียซึ่งเป็นผู้ซื้อทองคำรายใหญ่ที่สุด
Nicholas DeGeorge นักวางแผนกลยุทธ์อาวุโสจาก RJO Futures ได้ให้ความคิดเห็นไว้ว่า “ราคาทองคำจะได้รับแรงกดดันพอสมควรในอีกสองสามวันข้างหน้า ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐทำระดับสูงสุดรายสัปดาห์ครั้งใหม่ และประเทศอินเดียซึ่งเป็นผู้นำเข้าทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลกยังคงอยู่ภายใต้การล็อกดาวน์"
DeGeorge ชี้ว่า วันสำคัญที่อินเดียจะทำการซื้อทองคำครั้งใหญ่คือวันอาทิตย์นี้ และมาตรการล็อกดาวน์ "จะส่งผลต่ออุปสงค์การซื้อทองคำอย่างแน่นอน"