โดย Detchana.K
Investing.com - แม้ตลาดเพิ่งจะได้รับข่าวที่สร้างความประหลาดใจจากการลาออกอย่างกะทันหันของนายปรีดี ดาวฉาย จากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หลังดำรงตำแหน่งเพียง 21 วัน อย่างไรก็ตามมาตรการกระตุ้นการบริโภคในประเทศวงเงิน 4.5 หมื่นล้านยังเดินหน้าต่อไป ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่ากลุ่มการบิน โรงแรมและกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคน่าจะได้รับอานิสงส์จากมาตรการนี้ ติดตามรายละเอียดพร้อมประเด็นสำคัญที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้
1. รัฐเดินหน้า 3 มาตรการเสริมกระตุ้นเศรษฐกิจ มองหนุนหุ้นกลุ่มการบิน โรงแรม และอุปโภคบริโภค
ศบศ. มีมติเห็นชอบมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ได้แก่ (1) มาตรการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ วงเงิน 4.5 หมื่น ล้านบาท เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน ส่งเสริมการบริโภค และช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยทั่วไป โดยรัฐฯ ช่วยจ่าย 50% วงเงินไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน (2) มาตรการการจ้างงานสำหรับเด็กจบใหม่ รัฐฯ จ่ายกับนายจ้าง ระยะ 1 ปี ตั้งแต่ เดือน ต.ค. 63 - ต.ค. 64 เพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้จบใหม่ 3 กลุ่ม ได้แก่ ปริญญาตรี ปวส. และ ปวช. รวมจำนวน 260,000 อัตรา วงเงิน 2.3 หมื่นล้านบาท และ (3) กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มเติมภายใต้ โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ ให้มีการเพิ่มสิทธิให้ผู้ลงทะเบียน และ ให้สิทธิลาพักผ่อนในวันธรรมดาเพิ่มได้ 2 วัน แก่ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยไม่ถือเป็นวันลาเมื่อลงทะเบียนและใช้สิทธิในแพ็คเกจเราเที่ยวด้วยกัน เพื่อส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวในวันธรรมดา บล.หยวนต้ามองเป็นบวก กับหุ้นใน กลุ่มการบิน โรงแรม และอุปโภคบริโภค ได้แก่ AOT (BK:AOT) AAV BA ERW CENTEL MINT CPALL (BK:CPALL) CRC OSP CBG MTC BEM COM7 และ WHA
เช่นเดียวกับ บล. Country group มองเรื่องนี้เป็นบวกเช่นกันโดยมองว่า (1) สะท้อนการกระตุ้นเศรษฐกิจยังทำได้แม้จะไม่มีรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง (2) มองกลุ่มค้าปลีก BJC CPALL, Central Retail (BK:CRC) จะได้ประโยชน์
ถัดมามาตรการจ้างงานสำหรับเด็กจบใหม่ครอบคลุมผู้จบการศึกษา ปริญญาตรี , ปวส. , ปวช. โดยรัฐบาลจะช่วย นายจ้างสมทบ 50% ของเงินเดือนแต่ไม่เกิน 7.5 พันบาท / เดือนระยะเวลา 1 ปี มองเป็นบวกต่อ ศูนย์การค้า (CPN) และ ค้าปลีก (BJC CPALL CRC DOHOME HMPRO) ส่วนนโยบายกระตุ้นสุดท้ายจะเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว โดยจะเพิ่มส่วนลดค่าที่พัก 40% เป็นจำนวน 10 คืน / คน , เพิ่มคูปองอาหารต่อการท่องเที่ยว 900 บาท / วัน หากเที่ยวในวันจันทร์ - พฤหัสบดี , ให้เงินคืนค่าตั๋วเครื่องบิน 2 พัน บาท / ที่นั่ง มองเป็นบวกต่อ AOT AAV BA CENTEL ERW MINT)
2.ธนาคารกุงไทยมีโอกาสกำไรฟื้น จากการคลายการตั้งสำรองลง
บล.หยวนต้า เผยว่าผู้บริหาร ธนาคารกรุงไทย (BK:KTB) คาดผลดำเนินงาน 2H63 จะฟื้นตัว HoH โดยมีประเด็นบวกจาก 1) การตั้งสำรองที่จะผ่อนคลายลง เนื่องจากใน 1H63 บริษัทได้ตั้งสำรองพิเศษเพื่อรองรับการผิดนัดชำระหนี้ของ การบินไทย ไปทั้งหมดแล้ว รวมถึงมีการตั้งสำรองเผื่อกรณีของคุณภาพสินทรัพย์ที่จะแย่ลงในช่วงที่ ได้รับผลกระทบทาง ศก. จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยตั้งเป้า Credit Cost ทั้งปี ที่ 1.25-1.30% ลดลงจาก 1H63 ที่ 2.1% ขณะที่ NPL คาดยังทรงตัว HoH เนื่องจากบริษัทใช้นโยบายปรับโครงสร้างหนี้เชิงรุกจัดการกับลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง 2) Non-NII มีแนวโน้มฟื้นตัว ต่อเนื่องหลังปลดล็อคดาวน์ ทำให้คาดค่าธรรมเนียมจากธุรกิจกองทุนรวมและธุรกิจประกัน
อย่างไรก็ดี KTB มีปัจจัยลบจาก NIM ที่อ่อนตัวลง เพราะบริษัทมีแผนขยายสินเชื่อโครงการ ภาครัฐฯ ทำให้ Loan Mix ในส่วนของสินเชื่อ Low Yield เพิ่มขึ้น อีกทั้งมีผลกระทบจากการปรับ ลดดอกเบี้ยเงินกู้และการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ทำให้การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยในแต่ละไตร มาสน้อยลง รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงขึ้น (ทั้งปีคาดไว้ที่ High 40% สูงขึ้นจาก 41% ใน 1H63) หลังรับรู้ค่าเสื่อมจากโครงการลงทุนในโครงสร้าง IT
นอกจากนี้ผู้บริหารระบุว่า KTB ยังมีระดับเงินกองทุนอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งที่ 18.2% และจากผล Stress Test เบื้องต้นคาดเงินกองทุนจะลดลงเพียง 2% ภายใต้การประเมินกรณีเลวร้าย ทำให้มีโอกาส สูงที่ KTB จะสามารถจ่ายปันผลประจำปีได้ตามปกติ(เงินกองทุนยังมากกว่าเงินกองทุนขั้นต่ำ)
หยวนต้าคาดว่าผลดำเนินงานของ KTB จะเริ่มฟื้นตัว ขึ้นตั้งแต่ 3Q63 จากการตั้งสำรองที่ลดลงไปมาก เพราะผ่านการตั้งสำรองหนี้ครั้งใหญ่ไปแล้วใน 2Q63 ขณะที่หนี้เสียคาดเริ่มทรงตัวเพราะพอร์ตสินเชื่อส่วนใหญ่ของ KTB เป็นสินเชื่อโครงการ ภาครัฐฯ และสินเชื่อส่วนบุคคลของพนักงานรัฐฯ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ นอกจากนี้รายได้ค่าธรรมเนียมคาดเริ่มปรับตัวดีขึ้น QoQ หลังปลดล็อคดาวน์และกิจกรรมในประเทศคึกคักมากขึ้น ทำให้ทั้งปี 2563 เราคาด KTB จะมี กำไรสุทธิ 21,032 ลบ. ลดลง 28.2%YoY ได้ตามประมาณการเดิม
3. แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2563คาดว่าชะลอตัวลงอยู่ระหว่างร้อยละ-2.0ถึง-3.5
ศูนย์วิจัยออมสินเปิดเผยว่า รายได้ของผู้ประกอบการปิโตรเคมีรายใหญ่ในไทย มีทิศทางชะลอตัวลงตามความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในตลาดโลกที่ลดลงสะท้อนจากรายได้ของบริษัทรายใหญ่ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในภาพรวมที่หดตัวลงโดยบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET)ที่มีรายได้สูงที่สุด5บริษัทแรก มีรายได้รวมในไตรมาส 1ปี 2563รวมทั้งสิ้น 253,044.45 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ -12.31(%yoy)
ขณะที่แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2563คาดว่าชะลอตัวลงอยู่ระหว่างร้อยละ-2.0ถึง-3.5 จากการชะลอตัวของความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเพื่อใช้ในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากทั้งภายในประเทศและประเทศคู่ค้าหลักซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจโลกเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก(โดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่น)ชะลอตัวลง
ประกอบกับระดับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีความผันผวนสูงทำให้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐานและขั้นปลายที่ใช้น้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตเผชิญความเสี่ยงในด้านต้นทุน ราคาขาย และส่วนต่างราคา(Spread)ของผลิตภัณฑ์ทั้งนี้หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลกเริ่มคลี่คลายหรือสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกจะเริ่มดำเนินการผ่อนปรนมาตรการLockdownจะก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเกิดการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นจนส่งผลให้เศรษฐกิจค่อยๆทยอยฟื้นตัวอาจส่งผลให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีในช่วงครึ่งหลังของปี 2563สามารถพลิกฟื้นสถานการณ์ได้ดีขึ้น
ด้านผู้ประกอบการปิโตรเคมีพร้อมปรับกลยุทธ์แผนการลงทุนเพื่อรับวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างเช่น พีทีที โกลบอล เคมิคอล (BK:PTTGC) มีโครงการลงทุนในกลุ่มเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษและผลิตภัณฑ์พลาสติกวิศวกรรมชั้นสูงเพื่อรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)