InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.23 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าเล็ก น้อยจากเปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 34.25 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีปริมาณธุรกรรมเบาบาง เนื่องจากใกล้ช่วงวันหยุดยาว และตลาดรอดูตัว เลขเงินเฟ้อเดือน มี.ค.ของสหรัฐฯ ในคืนนี้ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.20 - 34.28 บาท/ดอลลาร์ ทั้งนี้ตลาดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค.ของสหรัฐฯ จะอยู่ที่ 5.2% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 5.6% "วันนี้บาทแกว่งตัวในกรอบแคบๆ เนื่องจากใกล้ช่วงวันหยุดยาว ทำให้มีปริมาณธุรกรรมค่อนข้างเบาบาง" นักบริหารเงิน ระบุ นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 34.15 - 34.50 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 133.77 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 133.65 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0925 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0924 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,592.67 จุด ลดลง 4.43 จุด, -0.28% มูลค่าการซื้อขาย 44,756.11 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,927.89 ล้านบาท (SET+MAI) - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินการส่งออกของไทยในปีนี้จะหด ตัว 0.7% และปี 67 จะกลับมาขยายตัวได้ที่ 4.3% ซึ่งการส่งออกของไทยผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในช่วงไตรมาส 4/65 ที่ชะลอตัวค่อนข้าง แรงตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ แต่ปัจจุบันการส่งออกเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว โดยจะเริ่มเห็นทิศทางการ ปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปีนี้ - คณะนักเศรษฐศาสตร์ของมอร์แกน สแตนลีย์ระบุว่า เศรษฐกิจของเอเชียนั้นมีแนวโน้มที่จะเติบโตเร็วกว่ากลุ่มประเทศพัฒนา แล้วถึง 5% ภายในสิ้นปี 2566 โดยได้แรงหนุนจากการที่จีนผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มโรคโควิด-19 รวมถึงอุปสงค์ภายในประเทศที่แข็ง แกร่งและอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับไม่สูงนักของจีน - ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขามินนิอาโพลิสกล่าวเมื่อวานนี้ (11 เม.ย.) ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ เฟด และความเป็นไปได้ในการปรับลดการปล่อยเงินกู้หลังจากการล่มสลายของธนาคาร 2 แห่งเมื่อเดือนที่แล้วนั้น อาจทำให้เกิดภาวะ เศรษฐกิจถดถอยตามมา แต่การปล่อยให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงจะยิ่งส่งผลเลวร้ายต่อตลาดแรงงาน - กลุ่มประเทศ G7 จะพิจารณาวิธีที่ดีที่สุดเพื่อช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการปรับใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลที่เหมาะสม - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนว่า ความเปราะบางของระบบการเงินจะก่อให้เกิดวิกฤตครั้งใหม่และจะฉุด เศรษฐกิจโลกให้อ่อนแอลงในปีนี้ นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย อย่างไรก็ดี IMF ยังคงสนับสนุนให้ ประเทศสมาชิกเดินหน้าใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินต่อไป เนื่องจากเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงมาก