รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

5 เหตุการณ์สำคัญ ปฏิทินเศรษฐกิจสัปดาห์นี้ (5-9 ส.ค.)

เผยแพร่ 05/08/2562 09:52
อัพเดท 06/08/2562 08:36
© Reuters.

Investing.com - ความกังวลต่อสงครามการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จะมีอิทธิพลอย่างมากต่อแรงกระตุ้นของตลาดในสัปดาห์นี้ หลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัดสินใจเพิ่มเดิมพันในสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ทำให้จีนออกมาประกาศว่าจะตอบโต้เอาคืน

ผู้ลทุนเตรียมรอข้อมูลทางการค้าจากจีนที่จะประกาศออกมาในวันพฤหัสบดีนี้เพื่อดูสัญญาณว่าจีนได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจหรือไม่ อีกทั้งผลการพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่าง ๆ ภายหลังจากการลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดเมื่อสัปดาห์ก่อน รวมถึงการให้คำกล่าวของคณะเฟดเองในสัปดาห์นี้ก็เป็นที่น่าจับตาด้วย เพราะจะช่วยบ่งบอกให้ผู้ลงทุนทราบทิศทางของนโยบายทางการเงินในอนาคต

ห้าสิ่งที่คุณควรรู้ก่อนเริ่มต้นสัปดาห์นี้มีดังต่อไปนี้

  1. สงครามการค้าที่รุนแรงยิ่งขึ้น

ตลาดหุ้นและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกต่างก็ปิดลบอย่างหนัก หลังจากทรัมป์ตัดสินใจกะทันหันว่าจะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐด้วยอัตราถึง 10% เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ถือเป็นจุดสิ้นสุดของการสงบศึกเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนเต็ม และจีนก็ได้ออกมาให้คำมั่นแล้วว่าจะต้องมีการตอบโต้เอาคืนสหรัฐฯ อย่างแน่นอน

นอกจากนี้ผู้ลงทุนจะเฝ้าจับตาตัวเลขชี้วัดอัตราเงินเฟ้อและตัวเลขทางการค้าของจีนในสัปดาห์นี้เพื่อดูสภาพล่าสุดของเศรษฐกิจจีนด้วย

ดูเหมือนว่าตัวเลขทางการค้าจีนที่มีกำหนดการประกาศในวันพฤหัสบดีนี้จะมีทิศทางที่ดิ่งลงไปอีก คาดว่าตัวเลขการส่งออกประจำเดือนกรกฎาคมจะลดลง 2.2% เมื่อเทียบปีต่อปี และตัวเลขการนำเข้าจะลดลงถึง 7.6%

  1. ธนาคารกลางต่าง ๆ

ทั้งธนาคารกลาง นอร์เวย์, นิวซีแลนด์, ออสเตรเลีย, อินเดีย, ฟิลิปปินส์ และ ไทย ล้วนมีกำหนดการประชุมเพื่อพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยกันทั้งสิ้น โดยตลาดต่างก็พากันสังเกตการณ์ว่าธนาคารกลางอื่น ๆ จะดำเนินรอยตามการลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบสิบปีของเฟดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วหรือไม่

คาดว่าธนาคารกลางนิวซีแลนด์จะลดอัตราดอกเบี้ยอีก 25 จุด จากอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน 1.50% และตลาดทั่วโลกก็เชื่อว่าออสเตรเลียอาจลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่สามติดต่อกัน ภายหลังจากที่ได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงไปอย่างต่อเนื่องจนถึง 1% แล้ว

อินเดียก็ดูเหมือนว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยอีกเป็นครั้งที่สี่ในปีนี้เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แต่ทางด้านประเทศไทยยังน่ากังวลเพราะไม่มีทีท่าว่าจะออกมาจัดการค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเลย

ส่วนนอร์เวย์ก็ต้องรอดูว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนหรือไม่ เพราะธนาคารกลางนอร์เวย์มีทิศทางที่เอนเอียงไปทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาหลายเดือนแล้ว แต่ท้ายที่สุดก็อาจเปลี่ยนการตัดสินใจเพราะช่วงนี้อาจยังไม่เหมาะที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็ต้องรอดูว่าธนาคารกลางจะสื่อสารทัศนะออกมาอย่างไรบ้าง

  1. สมาชิกเฟดให้คำกล่าว

ประธานเฟดประจำเซนต์หลุยส์ นายเจมส์ บุลลาร์ด มีกำหนดการให้คำกล่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจและนโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ ที่กรุงวอชิงตันในวันพรุ่งนี้ อีกทั้งประธานเฟดประจำชิคาโก นายชาร์ลส์ อีวานส์ ก็มีกำหนดการให้คำกล่าวในวันพุธด้วย

ปฏิทินเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ค่อนข้างเบาบาง แต่ข้อมูล ภาคกิจการบริการ ของสหรัฐฯ ที่มีกำหนดการประกาศออกมาในวันนี้จะช่วยให้ผู้ลงทุนได้ทราบว่าการชะลอตัวที่ส่งผลต่อธุรกิจภาคการผลิตได้ลุกลามมายังภาคกิจการบริการด้วยหรือไม่

  1. ข้อมูลทางเศรษฐกิจจากยุโรป

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่คึกคักสำหรับปฏิทินเศรษฐกิจฝั่งยูโรโซน โดยจะมีการรายงานดัชนี PMI ภาคกิจการบริการฝั่งยูโรโซนประจำเดือนกรกฎาคมในวันนี้ และตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเยอรมนีในวันพรุ่งนี้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ลงทุนทราบถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจฝั่งยูโรโซนในช่วงท้ายไตรมาสที่สอง

ในวันศุกร์นี้จะมีการรายงาน ตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ของสหราชอาณาจักรประจำไตรมาสที่สองซึ่งคาดว่าน่าจะออกมาชะลอตัว จากที่ก่อนหน้านี้นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ว่าอัตราการเติบโตเมื่อเทียบเดือนต่อเดือนจะอยู่ที่ 0.1% และ 1.4% เมื่อเทียบปีต่อปี ส่วนตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมก็คาดว่าจะหดตัวลงเช่นเดียวกับตัวเลขภาคการผลิต

และวันนี้จะมีการรายงานดัชนี PMI ภาคกิจการบริการของสหราชอาณาจักรประจำเดือนกรกฎาคม โดยนักเศรษฐศาสตร์ได้คาดไว้ว่าตัวเลขจะออกมาเท่ากับ 50.4 สูงกว่าระดับสำคัญที่ 50 ซึ่งเป็นระดับแบ่งกั้นระหว่างการเติบโตและการหดตัว

  1. การประกาศผลประกอบการเริ่มเบาบาง

ฤดูกาลประกาศผลประกอบการเริ่มชะลอตัวลงในสัปดาห์นี้ โดยมีบริษัทต่าง ๆ ในดัชนี S&P 500 ราว 62 บริษัทที่มีกำหนดการรายงานผลประกอบการ

ผู้ลงทุนจะรอคอยการรายงานผลประกอบการจาก Walt Disney (NYSE:DIS), CBS (NYSE:CBS) และ Viacom (NASDAQ:VIA) ท่ามกลางกระแสการแข่งขันกันในแวดวงผู้ให้บริการสตรีมมิ่งกับคู่แข่งยักษ์ใหญ่อย่าง Netflix (NASDAQ:NFLX) ซึ่งผลประกอบการต่าง ๆ ที่ออกมาอาจจุดชนวนให้เกิดการผันผวนในกลุ่มหุ้นผู้ให้บริการทางการสื่อสารก็เป็นได้

--เนื้อหาข่าวได้รับการสนับสนุนจากสำนักข่าวรอยเตอร์

ความคิดเห็นล่าสุด

รอฟัง
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย