Cyber Monday Deal: ลดสูงสุด 60% InvestingProรับส่วนลด

ก.ล.ต.มีมติแบนการใช้คริปโตเป็นสื่อกลางชำระเงิน

เผยแพร่ 23/03/2565 20:45
© Reuters.  ก.ล.ต.มีมติแบนการใช้คริปโตเป็นสื่อกลางชำระเงิน
SETI
-

เมื่อวันพุธ ที่ 23 มีนาคม ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมประชุมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อพิจารณาถึงประโยชน์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากสินทรัพย์ดิจิทัล ก่อนมีมติเห็นด้วยที่จะต้องเข้ามากำกับดูแลอุตสาหกรรมดังกล่าว พร้อมประกาศแถลงการณ์ออกหลักเกณฑ์ไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจคริปโตสนับสนุน หรือ ส่งเสริมการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้า และบริการ (Means of Payment) ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นต้นไป

Table of Contents

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ก.ล.ต.มีมติแบนการใช้คริปโตเป็นสื่อกลาง ข้อกำหนดจากก.ล.ต.ที่ผู้ให้บริการคริปโตต้องปฏิบัติตาม การสั่งแบนครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็นการส่งสัญญาณต่อต้านคริปโตหรือไม่?

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ก.ล.ต.มีมติแบนการใช้คริปโตเป็นสื่อกลาง

ทางหน่วยงานได้มีชี้แจงเพิ่มเติมถึง 3 สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ก.ล.ต.มีมติแบนการใช้คริปโต โดยพิจารณาจากผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง และสร้างความเสียหายต่อผู้ที่มีความเกี่ยวข้องในมิติต่าง ๆ ดังนี้

เสถียรภาพระบบการชำระเงินหากการชำระค่าสินค้า และบริการด้วยคริปโตเกิดความแพร่หลายในวงกว้าง การเข้าดูแลระบบชำระเงินให้มีประสิทธิภาพ มั่นคง และปลอดภัยอาจทำได้ยากขึ้น เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลส่วนใหญ่ถูกพัฒนาจากเทคโนโลยี Blockchain ทำให้ไม่สามารถเข้าไปกำกับดูแลได้ รวมไปถึงไม่มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยที่เหมาะสม จึงอาจทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถได้รับความคุ้มครองได้ดีเท่าที่ควรเสถียรภาพทางการเงิน และความสามารถในการดูแลภาวะการเงินของประเทศการนำสินทรัพย์ดิจิทัลเข้ามาใช้เป็นสื่อกลางนั้นอาจส่งผลกระทบให้ความต้องการถือครองเงินบาทลดลง และลดทอนประสิทธิภาพการส่งผ่านนโยบายทางการเงินเพื่อนำไปดูแลลระดับราคาสินค้า รวมถึงยังลดทอนความสามารถในการกำกับดูแลภาวะทางการเงินให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจแต่ละช่วงของธปท. ซึ่งมุมมองความเสี่ยงในประเด็นนี้ได้สอดคล้องกับมุมมองของหน่วยงานกำกับดูแลในหลายประเทศด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และมาเลเซีย เป็นต้นผู้ใช้หรือรับชำระสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับมุมมองความเสี่ยงในประเด็นนี้นั้นทางก.ล.ต.ได้แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อด้วยกัน ได้แก่ ความเสี่ยงจากความผันผวนของมูลค่าคริปโต ที่อาจทำให้ยอดค่าใช้จ่ายของผู้ใช้มีความไม่แน่นอนสูง และในการให้บริการอาจมีต้นทุนแฝง, ความเสี่ยงในด้านเทคโนโลยี จากการโจมตีจากอาชญากรไซเบอร์ และความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และกฎหมาย ซึ่งทุกข้อที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันความผันผวน การก่อการร้าย รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีนั่นเอง

ข้อกำหนดจากก.ล.ต.ที่ผู้ให้บริการคริปโตต้องปฏิบัติตาม

หลังการประชุมครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ทางคณะกรรมการก.ล.ต.ได้มีมติกำหนดหลักการกำกับดูแลผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัล หลังได้มีการปรับปรุงตามความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในระหว่างวันที่ 25 มกราคม ถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยประการแรกได้ออกมาสั่งห้ามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจคริปโตให้บริการ หรือกระทำการสนับสนุน หรือส่งเสริมการชำระค่าสินค้า และบริการใด ๆ รวมไปถึงการจัดทำระบบ หรือ เครื่องมืออำนวยความสะดวกการชำระเงินด้วยคริปโตอีกด้วย ซึ่งถ้าหากผู้ให้บริการพบว่ามีผู้ใช้งานละเมิดข้อกำหนดดังกล่าว จะต้องมีการแจ้งตักเตือน และดำเนินการระงับการให้บริการชั่วคราว หรือ ยกเลิกการให้บริการ ตามกฎระเบียบที่ได้กำหนดไว้

ทั้งนี้ทางหน่วยงานกำกับดูแลระบุว่าผู้ประกอบกิจการ และผู้ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นยังคงสามารถให้บริการในด้านการทำธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน หรือ การซื้อขายได้ตามปกติ

การสั่งแบนครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็นการส่งสัญญาณต่อต้านคริปโตหรือไม่?

อ้างอิงจากรายละเอียดที่ทางหน่วยงานกำกับดูแลได้ออกมาชี้แจงผ่านเว็บไซต์หลักเพื่อไขข้อสงสัย และสร้างความเข้าใจที่ตรงกันให้กับประชาชนทุกคน ทาง ก.ล.ต. ได้ย้ำว่าสิ่งเดียวที่คณะกรรมการกังวลก็คือ ความเสี่ยงจากการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ชำระค่าสินค้า และบริการอย่างแพร่หลาย โดยอ้างว่าระบบชำระเงินภายในประเทศในปัจจุบันนั้นมีประสิทธิภาพที่สูงอยู่แล้ว และการจะนำคริปโตเข้ามาใช้นั้นก็ไม่ได้เพิ่มประโยชน์ให้กับประชาชน และธุรกิจมากเท่าไรนัก

อย่างไรก็ตามทางธปท., ก.ล.ต. และภาครัฐ ยังคงเล็งเห็นถึงประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ของคริปโต และไม่ได้มีเจตนาที่จะปิดกั้นการนำสินทรัพย์ประเภทดังกล่าวไปใช้เพื่อลงทุนแต่อย่างใด ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) เพื่อต่อยอดนวัตกรรมทางการเงิน รวมไปถึงส่งเสริมการพัฒนาบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ เช่น การจัดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่าน Blockchain หรือ การออกหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเทคโนโลยีดังกล่าว เป็นต้น

กดอ่านข่าวต่อที่ CryptoSiam

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย