1. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน, ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน, อัตราเงินเฟ้อ
สำนักงานการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะรายงานตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศประจำไตรมาสที่สามของปี 2019 เป็นครั้งที่สองในเวลา 8:30 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก (13:30 GMT)
อ้างอิงจากผลคาดการณ์ที่ Investing.com รวบรวมมา โดยเฉลี่ยแล้วนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า อัตราการเติบโตในไตรมาสที่สาม จะมีอัตรารายปีเท่ากับตัวเลขเดิมที่ 1.9% และลดลงมาจากไตรมาสที่สอง 2.0%
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ก็จะรายงานยอดคำสั่งซื้อสินค้าที่มีอายุการใช้งานนานกว่าสามปีประจำเดือนตุลาคม และตัวเลขชี้วัดอัตราเงินเฟ้อในเวลา 8:30 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก
ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมสินค้าประเภทยานยนต์คาดว่าจะพลิกฟื้นขึ้นในเดือนที่แล้วด้วยตัวเลขที่สูงขึ้น 0.2% จากเดือนก่อนที่ติดลบ 0.4%
ดัชนี PCE พื้นฐาน ประจำเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นตัวเลขชี้วัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดนิยมใช้และไม่รวมสินค้าประเภทอาหารและพลังงาน คาดว่าจะขยายตัวขึ้น 0.2% แต่ เมื่อเทียบเป็นรายปี คาดว่าจะยังคงเดิมอยู่ที่ 1.7%
ทางด้านตลาดแรงงานสหรัฐฯ นักเศรษฐศาสตร์ก็ได้คาดการณ์ไว้ว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก จะลดลงเหลือ 223,000 ราย จากก่อนหน้านี้ 227,000 ราย
2. ตัวเลขภาคอสังหาริมทรัพย์และรายจ่ายผู้บริโภคสหรัฐฯ
สมาคมนายหน้าค้าอสังหาฯ สหรัฐฯ จะรายงานยอดรอขายบ้านล่าสุดในเวลา 10:00 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก (15:00 GMT)
นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าโดยเฉลี่ยแล้ว ยอดรอขายบ้าน ในเดือนตุลาคมจะชะลอตัวลงเหลือ 0.2% ต่างจากที่คาดว่าจะสูงขึ้น 1.5%
และคาดว่า รายรับส่วนบุคคล ประจำเดือนตุลาคมน่าจะสูงขึ้น 0.3% ส่วน รายจ่ายส่วนบุคคล คาดว่าน่าจะขยายตัวขึ้น 0.3% จากก่อนหน้านี้ 0.2%
3. ปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง จะลดลงหรือไม่
สำนักงานสารสนเทศพลังงาน (EIA) จะรายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์ในวันนี้
คาดว่า EIA จะรายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ที่สิ้นสุดก่อนวันที่ 22 พฤศจิกายนที่ลดลงไป 418,000 บาร์เรล จากสัปดาห์ก่อน EIA ได้รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น 1.379 ล้านบาร์เรล ซึ่งแม้ว่าจะเป็นปริมาณที่มาก แต่ก็ยังเป็นปริมาณที่น้อยกว่าคาดการณ์และจึงเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนราคาน้ำมันให้ปรับขึ้น
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ ปรับขึ้น 0.7% และยืนอยู่ที่ $58.41 ต่อบาร์เรล หลังจากมีข่าวดีจากการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และความคาดหวังว่ากลุ่มโอเปกจะประกาศลดกำลังการผลิตต่อไปในการประชุมสัปดาห์หน้า ทว่าหากกลุ่มโอเปกเลือกที่จะไม่ลดกำลังการผลิตน้ำมันต่อไปอีกก็อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันดิ่งลงอย่างฉับพลันก็เป็นได้