โดย Detchana - ทั้งนักลงทุนทองคำและผู้เชี่ยวชาญต่างคาดการณ์ว่าราคาทองคำในสัปดาห์นี้จะยังเดินหน้าต่อหลังจากเกิดการพักฐานช่วงสั้นๆในสัปดาห์ก่อน โดยผู้เชี่ยวชาญ 57% และนักลงทุน 46% จากตัวอย่างที่สำรวจเห็นว่าราคาทองคำจะปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังต้องจับตาสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีนที่อาจส่งผลต่อราคาทองคำ ติดตามรายละเอียดพร้อมประเด็นสำคัญที่นักลงทุนไทยควรติดตามสำหรับวันนี้
1.นักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คาดว่าราคาทองคำสัปดาห์นี้จะปรับบวก
ผลสำรวจจากศูนย์วิจัยทองคำ ประจำสัปดาห์วันที่ 31 ส.ค. – 4 ก.ย. 63 ระบุว่า14 ผู้เชี่ยวชาญในตลาดทองคำที่ได้มีส่วนร่วมตอบแบบสำรวจ ในจำนวนนี้มี 8 ราย หรือเทียบเป็น 57% คาดว่า ราคาทองคำ ในสัปดาห์นี้จะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 2 ราย หรือเทียบเป็น 14% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 4 ราย หรือเทียบเป็น 29% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับนักลงทุนทองคำ ได้เข้าร่วมตอบแบบสำรวจ จำนวน 313 ราย ในจำนวนนี้มี 144 ราย หรือเทียบเป็น 46% คาดว่าราคาทองคำในประเทศของสัปดาห์นี้จะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 88 ราย หรือเทียบเป็น 28% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 81 ราย หรือเทียบเป็น 26% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาทองคำแท่งในประเทศ 96.5% ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 28,450 – 28,950 บาท ต่อบาททองคำ โดยราคาทองคำปิดอยู่ที่ระดับ 28,850 บาท ต่อบาททองคำ ปรับลดลง 100 เมื่อเปรียบเทียบกับราคาปิดของสัปดาห์ก่อนหน้า (สัปดาห์ก่อนหน้าปิดที่ 28,950 บาท)
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้คือ สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เมื่อจีนยิงขีปนาวุธตกลงในทะเลจีนใต้ จำนวน 4 ลูก ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการเตือนสหรัฐฯ ที่ส่งเครื่องบินสอดแนมบินเข้ามาในน่านฟ้าบริเวณเขตห้ามบินที่จีนใช้เป็นสถานที่ซ้อมรบ
นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ประกาศปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินครั้งสำคัญ โดยมีเป้าหมายที่จะให้เงินเฟ้อดีดตัวขึ้นมากกว่าเดิมเพื่อสนับสนุนตลาดแรงงาน และเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และรอดูรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ เช่น ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร, รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง และอัตราการว่างงานเดือน สิงหาคม 2563
2 .ตลาดหุ้นไทย สัปดาห์นี้ยังคงเป็นสัปดาห์ที่ผันผวน Side-way
บล. Asia Wealth คาดการณ์ว่า ตลาดหุ้นไทย สัปดาห์นี้ (31 ส.ค. – 3 ก.ย.) จะยังคงผันผวน แม้จะมี Sentiment เชิงบวกจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ซึ่งนอกจากการประกาศปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินครั้งสำคัญของประธานเฟด ยังมีธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เตรียมใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายหลายรูปแบบประกอบกัน “policy mix” และ อีกปัจจัยคือการลงนามในข้อตกลงเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโรคโควิด-19 ของผู้นำสหรัฐฯ วงเงิน 1.3 ล้าน ล้านเหรียญ หลังโครงการเงินช่วยเหลือการว่างงานฉุกเฉินหมดอายุมาเป็นเวลา 4 สัปดาห์
แต่ปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศที่ต้องติดตามได้แก่ สถานการณ์ความขัดแย้งรอบใหม่ของสหรัฐฯ และจีน หลังสัปดาห์ก่อนจีนยิงขีปนาวุธใส่สหรัฐฯ ในทะเลจีนใต้ เพื่อเป็นการตอบโต้หลังสหรัฐฯ ใช้ เครื่องบินสอดแนมดูการซ้อมรบของกองทัพเรือจีน
ขณะที่สหรัฐฯ ตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรบริษัท จีนจำนวน 24 แห่ง ที่มีส่วนสนับสนุนกองทัพจีน และ (2) สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ในยุโรป (Second Wave) หลังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อในยุโรปกลับมาเพิ่มขึ้นในอัตราที่ เพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยคาดว่า SET Index สัปดาห์นี้ จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,303-1,358 จุด
ปัจจัยฝั่งยุโรป ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) พร้อมดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติม ด้วยการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายหลายรูปแบบ ประกอบกัน “policy mix” รวมถึงความเป็นไปได้ที่เพิ่มขึ้นจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจนติด ลบ (Negative Interest Rates) หากจำเป็น รวมไปถึงการเข้าซื้อสินทรัพย์ภายใต้มาตรการ Quantitative Easing (QE) เพิ่มเติม โดยก่อนหน้านี้ BoE ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจนถึงระดับต่ำที่ 0.1% และการทำ QE จำนวน 7.45 แสนล้านปอนด์ ถือเป็นท่าทีที่ชัดเจนเหมือนการประกาศปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินครั้งสำคัญของประธานเฟดก่อนหน้านี้
3.เงินบาท USD/THB สัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 30.90-31.25 ต่อ ดอลลาร์
ศูนย์วิจัยกรุงศรีเผยว่า หลังการปรับกรอบนโยบายของเฟดสนับสนุนการ คาดการณ์ของตลาดที่ว่าเฟดจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับใกล้ 0% ต่อไปอีกนานหลายปี อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังตั้ง คําถามต่อประเด็นที่ว่าเฟดจะตรึงดอกเบี้ยเป็นเวลานานเพียงใด
ขณะที่เฟดไม่ได้ระบุว่าจะปล่อยให้ อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นถึงระดับใด ทั้งนี้ คาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในการประชุม FOMC วันที่ 15-16 ก.ย. นอกจากนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจสําคัญหลายรายการของสหรัฐฯ อาทิ ดัชนีภาค บริการ และการจ้างงานนอกภาคเกษตร รวมถึงการชิงตําแหน่งนายกฯญี่ปุ่นคนใหม่ภายในพรรค LDP จะเป็นปัจจัยชี้นําตลาดการเงินในสัปดาห์นี้เช่นกัน
ส่วนในไทย ผู้ว่าการ ธปท. ระบุว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงกรอบนโยบาย อย่างมีนัยสําคัญแต่คาดว่าการปรับนโยบายของเฟดจะทําให้ ตลาดการเงินผันผวนมากขึ้น อีกทั้งมองว่าดอกเบี้ยนโยบาย ของไทยสามารถปรับลงได้อีกหาก COVID-19 กลับมารุนแรง อย่างไรก็ดี ผู้ว่าการฯมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดลบไม่ เหมาะสมเพราะอาจส่งผลต่อเสถียรภาพระบบการเงิน ขณะที่ มาตรการการคลังควรมีบทบาทหลักอนึ่ง อัตราเงินเฟ้อซึ่งที่ ผ่านมาต่ำลงจากราคาพลังงาน มาตรการดูแลค่าครองชีพ และมาตรการปิดเมืองบางส่วนนั้น คาดว่าจะกลับเข้าสู่กรอบ เป้าหมายได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 64
นอกจากนี้ ธปท.เตรียม ผ่อนคลายเกณฑ์บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศเพิ่มเติม เร็วๆนี้ เพื่อลดผลกระทบต่อค่าเงินบาทจากการซื้อขายทองคํา เราประเมินว่าเงินดอลลาร์ในตลาดโลกจะเผชิญแรงกดดันให้ อ่อนค่าลงจากการปรับนโยบายของเฟดเป็นสําคัญ ขณะที่ การปรับเปลี่ยนอาจไม่ได้สะท้อนบริบทของสหรัฐฯเท่านั้นแต่ เป็นการสอดรับกับอัตราเงินเฟ้อ, ดอกเบี้ยรวมถึงการเติบโต ทางเศรษฐกิจของโลกซึ่งอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง