เมื่อสัปดาห์ที่แล้วตลาดได้เห็นการกลับตัวขึ้นมาของตลาดน้ำมันดิบจากข่าวดีเล็กๆ เช่น ความเป็นไปได้ในการคลายมาตรการล็อคดาวน์ เศรษฐกิจในประเทศใหญ่ๆ ใกล้จะกลับมาเดินได้อีกครั้งในขณะที่ประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ทั่วโลกกำลังช่วยกันลดกำลังการผลิตฯ จริงจัง แต่ในขณะเดียวกันนั้นตลาดน้ำมันดิบก็ใช่แต่จะเจอข่าวดีเพียงอย่างเดียวเมื่อรายงานผลประกอบการของบริษัทผู้ผลิตน้ำมันในไตรมาสล่าสุดทำให้บริษัทเหล่านั้นต้องจุกไปตามๆ กันจากความเสียหายที่ราคาน้ำมันดิบสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรม ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงภาพรวมของทุกฝ่ายที่กำลังมีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำมันดิบในขณะนี้
1. ฝั่งผู้ที่ต้องการใช้น้ำมัน (Demand)
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในสัปดาห์นี้สามารถก้าวขึ้นเหนือระดับราคา $30 ได้สำเร็จ
สาเหตุที่เบรนท์สามารถกลับขึ้นมาได้เพราะในบางพื้นที่ของยุโรปและสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัวและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับคืนมาบ้างแล้ว ส่วนบางพื้นที่แม้จะยังไม่เปิดเมืองหรือพื้นที่ทางเศรษฐกิจแต่ก็ได้คลายมาตรการลงอย่างมีนัยสำคัญ นักลงทุนเห็นสัญญาข่าวดีนี้และเริ่มมีความหวังกับการกลับมาของเศรษฐกิจ ดังนั้นราคาน้ำมันดิบจึงปรับตัวสูงขึ้นแม้จะยังไม่มีข้อมูลยืนยันเป็นตัวเลขออกมาอย่างเป็นทางการ
ในขณะเดียวกันหุ้นของกลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิงในสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วซึ่งเป็นตัวชี้ให้เห็นว่าความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นและโรงกลั่นเพิ่มกำลังการกลั่นขึ้นไปเป็น 70% อย่างไรก็ตามบริษัทผู้รับหน้าที่กลั่นน้ำมันทั่วโลกยังคงลดกำลังการผลิตลง 30% อยู่ ดังนั้นข่าวดีเล็กน้อยนี้จึงยังไม่เป็นที่สังเกตของตลาดนักเมื่อเทียบกับรายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ที่ยังคงเพิ่มขึ้น
แม้ธุรกิจจะสามารถกลับมาเปิดให้บริการได้อีกครั้งแต่เชื่อได้เลยว่าการใช้งานน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019 เพราะผู้คนยังคงจะหลีกเลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็น ใช้เงินน้อยลงและจะไม่กล้าเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
2. ฝั่งผู้ผลิตน้ำมัน (Supply)
อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นเพราะการเพิ่มของตัวเลขน้ำมันดิบที่อยู่ในคลังเก็บน้ำมันเริ่มชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง
มีรายงานระบุว่ารัสเซียในตอนนี้ยังไม่ได้ลดกำลังการผลิตน้ำมันตามที่ได้ตกลงไว้กับกลุ่มโอเปกซึ่งทำให้ตลาดเกิดความสงสัยอย่างจริงจังว่ารัสเซียจะยอมทำตามที่ตกลงกับกลุ่มโอเปกในการลดกำลังการผลิตในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนได้จริงหรือ อย่างไรก็ตามสื่ออย่างรอยเตอร์ก็ได้มีรายงานว่าในช่วง 5 วันแรกของเดือนพฤษภาคมพบว่ากำลังการผลิตน้ำมันของรัสเซียลดลงไปเหลือ 8.75 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ตัวเลขนี้ยังไม่นับรวมกระบวนการคอนเดนเสท) ซึ่งทำให้ตัวเลขการผลิตน้ำมันของรัสเซียเพิ่มขึ้นเป็น 9.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ตอนนี้เรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าตัวเลขลดการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ลดลงไปมากเท่าไหร่แต่ที่แน่ๆ คือยังลดลงอย่างต่อเนื่อง อ้างอิงข้อมูลจาก EIA เมื่อสัปดาห์ที่แล้วพบว่ากำลังการผลิตฯ ของสหรัฐฯ ลดลงไปอีก 200,000 บาร์เรลต่อวันจนตอนนี้การผลิตฯ ของสหรัฐฯ มีตัวเลขอยู่ที่ 11.9 ล้านบาร์เรล แม้ว่ากลุ่ม Texas Railroad Commission ตัดสินใจว่าจะยังไม่ยอมทำตามข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับการผลิตน้ำมันในตอนนี้แต่ทางกลุ่มก็ช่วยลดกำลังการผลิตน้ำมันลงแล้วอย่างน้อย 1 ล้านบาร์เรลต่อวันนับตั้งแต่ช่วงที่ปริมาณความต้องการน้ำมันมีปัญหา
แม้ว่าข่าวการลดกำลังการผลิตจะเป็นข่าวดีสำหรับราคาน้ำมันดิบแต่นักลงทุนก็อย่าพึ่งดีใจจนเกินไปนัก อีรักยอมที่จะลดกำลังการผลิตน้ำมันลง 1 ล้านบาร์เรลต่อวันแต่พวกเขาก็ยังไม่ได้บอกลูกค้าเกี่ยวกับการลดกำลังการผลิตฯ ครั้งนี้และยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะแบ่งสรรปันส่วนน้ำมันที่เหลือให้กับลูกค้าและบริษัทผู้ประกอบการในประเทศอย่างไร การเจรจากับบริษัทใหญ่ๆ อย่างเช่น BP (NYSE:BP), Exxon (NYSE:XOM), ENI (NYSE:E) และ Lukoil (OTC:LUKOY)) ยังคงไม่มีข้อสรุป
ในภาคของอุตสาหกรรมการขุดหินน้ำมัน บริษัทชื่อดังที่เกี่ยวข้องอย่าง Diamondback (NASDAQ:FANG) และ Parsley Energy (NYSE:PE) พึ่งออกมาบอกว่าถ้าราคาน้ำมันดิบ WTI ขึ้นมาถึง $30 ต่อบาร์เรลได้เมื่อไหร่พวกเขาจะเพิ่มกำลังการผลิตอีกครั้งด้วยการเปิดและเริ่มขุดเจาะหลุมน้ำมันใหม่
3. บริษัทผู้ผลิตน้ำมัน
เมื่อสองสัปดาห์ก่อนหน้าหลายบริษัทผู้่ผลิตน้ำมันรายใหญ่ได้ออกมาเปิดเผยตัวเลขผลประกอบการในไตรมาสที่ 1 ปี 2020 ซึ่งพบว่าบริษัทใหญ่ๆ เสียกำไรไปมหาศาลในไตรมาสที่ 1 เช่นบริษัท Exxon รายงานว่าเสียกำไรไป $610 ล้านเหรียญสหรัฐฯ BP มีกำไรที่หายไปอยู่ที่ $628 ล้านเหรียญสหรัฐฯ Occidental (NYSE:OXY) เสียหายไป $2,200 ล้านเหรียญและ Marathon Petroleum (NYSE:MPC) มีตัวเลขอยู่ที่ $9,900 ล้านเหรียญ ข้อมูลตัวเลขการสูญเสียในไตรมาสที่ 1 นี้ชี้ให้เห็นว่าบริษัทผู้ผลิตน้ำมันอาจจะจำเป็นต้องลดตัวเลขค่าดำเนินการในบางส่วนลงอีกเช่น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการหรือ CAPEX และพยายามทำให้ตัวเลขผลประกอบการดีขึ้นให้ได้ในไตรมาสถัดไป
ตัวอย่างเช่นบริษัท Occidental พึ่งประกาศลดงบประมาณในส่วนของ CAPEX ไปอีกรอบหลังจากที่ลดมาสองครั้งแล้วในเดือนมีนาคม ตอนนี้บริษัทได้ลดงบค่าใช้จ่ายลงไปมากกว่า 50% แล้วเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขค่าใช้จ่ายที่เคยประเมินไว้ในปี 2020 ยิ่งลดตัวเลขงบประมาณลงมากเท่าไหร่หมายความว่าการพัฒนาและการขุดหาแหล่งน้ำมันในอนาคตก็จะลดน้อยลงไปด้วยในอนาคตระยะยาว
ดูกราฟราคาน้ำมัน Brent (NYSE:BNO)
https://th.investing.com/commodities/brent-oil
ดูกราฟราคาน้ำมัน WTI (NYSE:WTI)
https://th.investing.com/commodities/crude-oil
ดูกราฟกองทุนรวม Invesco DB Oil Fund (NYSE:DBO)