เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการลาออกอย่างกะทันหัน ของซาบิเนอ เลาเทนชลาเกอร์ สมาชิกจากประเทศเยอรมนี หนึ่งในหกคนของคณะกรรมการบริหารธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งยังเหลือเวลาอีกกว่า 2 ปีก่อนที่จะพ้นจากตำแหน่งตามกำหนดวาระปกติที่ 8 ปี ปัญหาความขัดแย้งภายในของ ECB จึงเริ่มปรากฏออกมาให้เห็น ความไม่ลงรอยกันนั้นเกิดขึ้นระหว่างฝ่ายยุโรปเหนือซึ่งมีท่าทีค่อนข้างแข็งกร้าวกับฝ่ายยุโรปใต้ซึ่งมีท่าทีในทางประนีประนอมในด้านการใช้นโยบายการเงิน
เหตุการณ์ครั้งนี้ต่างจากความขัดแย้งก่อนหน้านี้ในช่วงที่ประเทศกรีซ อิตาลี และสเปนตกอยู่ในฐานะลูกหนี้และต้องยอมทำตามคำสั่งของเจ้าหนี้ในยุโรปเหนือ กล่าวคือ ในครั้งนี้ฝ่ายยุโรปใต้เป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ เพราะสุดท้ายแล้ว ประธานธนาคารกลางอย่างนายมาริโอ ดรากีจากอิตาลีที่กำลังจะพ้นจากตำแหน่งในเร็ววันนี้ก็เป็นผู้ผลักดันให้ ECB นำมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณและอัตราดอกเบี้ยติดลบออกมาใช้ ซึ่งก็เสมือนกับเป็นการแหกคอกโดยมีเจตนาที่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่ยังอ่อนตัว
ทางด้านของนายเอมมานูเอล มาครงจากฝรั่งเศสซึ่งถือว่าอยู่ตรงกลางระหว่างยุโรปเหนือกับยุโรปใต้กลับไม่เห็นด้วยกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและการเงินของเยอรมนี และไม่เห็นด้วยที่จะให้นายเจนส์ ไวด์มันน์ ผู้ว่าการธนาคารกลางเยอรมนีเข้ารับตำแหน่งแทนนายดรากี แต่เสนอให้นางคริสติน ลาการ์ด ประธานกองทุนการเงินระหว่างประเทศซึ่งเป็นสายเลือดฝรั่งเศสเหมือนกันขึ้นดำรงตำแหน่งนี้แทน ซึ่งก็จะเป็นการทำให้ทิศทางของธนาคารกลางยุโรปเป็นไปในแนวทางประนีประนอมมากกว่า
ด้านนายดรากีซึ่งใกล้จะพ้นจากตำแหน่งแล้วนั้นก็รีบโหมนำกลยุทธ์ของตนเข้ามาใช้ ในการประชุมเชิงนโยบายของ ECB ในเดือนกันยายน เขาได้ผลักดันให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธาคารให้ไปอยู่ในแดนลบและยังเริ่มดำเนินการโครงการเข้าซื้อสินทรัพย์ของธนาคารอีกครั้งด้วย
โปรแกรมการเข้าซื้อพันธบัตรเป็นปัจจัยที่ทำให้นางเลาเทนชลาเกอร์ต้องตัดสินใจลาออกจนทำให้คณะกรรมการที่เหลืออยู่ต้องลำบากใจในการประคับประคอง ECB ให้มีเสถียรภาพ และยังส่งผลให้ เงินยูโร ที่ยังไม่ทันได้ฟื้นตัวต้องปรับลดลงไปอีก
กราฟราคา EUR/USD ราย 60 นาที
รัฐมนตรีคลังของยุโรปได้พิจารณาอย่างรอบคอบและเปลี่ยนตัวผู้ถูกเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งประธาน ECB จากนายบินัว คูรีซึ่งจะหมดวาระในเดือนธันวาคมไปเป็นนายฟาบิโอ พาเน็ตตาซึ่งเป็นรองผู้ว่าการอาวุโสของธนาคารกลางอิตาลีแทน
ดังนั้นในขณะนี้จึงมีตัวแทนจากฝั่งของฝรั่งเศสและอิตาลียืนรออยู่แล้ว ส่วนทางด้านของเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของอียูก็รู้สึกว่าตนก็ควรมีสิทธิ์ที่จะเสนอชื่อด้วยเช่นกัน ดังนั้นผู้ที่จะเข้าไปรับตำแหน่งแทนที่นางเลาเทนชลาเกอร์ก็ควรจะเป็นคนเยอรมันด้วยเช่นกัน
หากพิจารณาในเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศในคณะกรรมการของ ECB จะพบว่า นางเลาเทนชลาเกอร์เป็นผู้หญิงเพียงคนเดียวในสมาชิกทั้งหมดของคณะกรรมการจำนวน 25 คน หากนางลาการ์ดเข้ามารับตำแหน่งประธานจริงก็คงไม่ช่วยให้สถานการณ์ด้านความเท่าเทียมทางเพศดีขึ้นได้ ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้มากก็คือผู้ที่จะเข้ามาแทนควรเป็นผู้หญิงชาวเยอรมัน
การตัดสินใจเลือกในครั้งนี้จึงจะเป็นตัวชี้ว่าผู้นำของอียูจะมีความตั้งใจในการแก้ไขวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้มากน้อยเพียงใด เยอรมนียังมีโอกาสที่จะถอยและหลบไปรักษาแผลของตนเองให้หายดีจนกว่าจะสามารถกลับมายืนอย่างแข็งแกร่งได้อีกครั้งด้วยการเสนอชื่อบุคคลที่มีท่าทีประนีประนอมมากกว่านี้ได้
แน่นอนว่านางคลอเดีย บุช รองประธานธนาคารกลางเยอรมนีก็อาจถือได้ว่าเป็นบุคคลที่มีท่าทีดุดันคนหนึ่ง เธอเข้ารับตำแหน่งแทนนางเลาเทนชลาเกอร์ซึ่งต้องลาออกไปรับตำแหน่งที่ ECB ในปี 2014 และได้มีโอกาสทำงานร่วมกันกับนายไวด์มันน์ ผู้ถือว่ามีความแข็งกร้าวอีกคนหนึ่งตั้งแต่นั้นมา
บุชเคยเป็นสมาชิกสภาผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจของเยอรมนีมาก่อน (ซึ่งในอดีตเรียกว่า ปราชญ์ทั้งห้า) เป็นเวลาสองปี และได้รับการเสนอชื่อให้เข้าทำงานที่ ECB มาก่อน แต่สุดท้ายแล้วนางเลาเทนชลาเกอร์ก็คว้าตำแหน่งนี้ไป
นางอิสซาเบล ชนาเบลซึ่งเป็นศาสตราจารย์จากโบนน์ผู้เคยเข้าร่วมทำงานในสภาผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจในช่วงที่นางบุชพ้นจากตำแหน่งไปนั้นก็ถือว่าเป็นอีกคนหนึ่งที่น่าจะได้รับการเสนอชื่อในครั้งนี้ เธอน่าจะมีความประนีประนอมมากกว่าบุช แต่เธอก็ค่อนข้างต่อต้านนโยบายของ ECB ในตอนนี้มากเช่นกัน ผู้หญิงคนที่สามที่น่าจะได้รับการเสนอชื่อในครั้งนี้คือนางเอลกา บาร์ช ผู้เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าทีมวิจัยขนาดใหญ่ของบริษัท Blackrock และยังเคยได้ทำงานกับมอร์แกนสแตนลีย์มาก่อนด้วย
ทั้งสามคนมีดีกรีระดับดอกเตอร์ทางด้านเศรษฐกิจเหมือนกันและน่าจะมีมุมมองสำหรับการทำงานของ ECB ที่แตกต่างจากนางเลาเทนชลาเกอร์ เธอเคยทำงานทางด้านการดูแลควบคุมระบบธนาคารมาก่อน (เนื่องจากเคยเป็นหัวหน้าฝ่ายดูแลควบคุมของ ECB อยู่เป็นเวลาหลายปี)
ตำแหน่งของทั้งสามคนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายทางการเงินจึงแทบจะไม่แตกต่างกัน (ส่วนทางด้านของผู้ชายที่ได้รับการเสนอชื่อรับตำแหน่งประธาน ECB ได้แก่ นักคิดอย่างผู้อำนวยการมาเซล ฟราสเชอร์ รัฐมนตรีคลังยอร์ก คูคีส์ และศาสตราจารย์โวลเกอร์ วีแลนด์จากแฟรงก์เฟิร์ท)
หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของ ECB คนใหม่ อดีตประธานธนาคารกลางไอร์แลนด์อย่างนายฟิลิป เลนถือว่าเป็นผู้ที่มีท่าทีประนีประนอมมากกว่าผู้ดำรงตำแหน่งคนก่อนหน้าอย่างนายปีเตอร์ แพรตจากเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่นายพาเน็ตตาจากอิตาลี ในฐานะประเทศยุโรปใต้นั้นถือได้ว่าอยู่ในกลุ่มของพวกประนีประนอมอยู่แล้ว
ไม่ว่าบุคคลคนนั้นจะมีท่าทีเช่นไรก็จะต้องเข้ามารับหน้าที่แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวของเยอรมนีให้ได้ และต้องสามารถอดทนแต่แรงเสียดทานที่จะเกิดขึ้นไม่เพียงแต่จากกลุ่มของคณะกรรมการนโยบายการเงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนายธนาคารต่างๆ รวมถึงความคิดเห็นของประชาชนที่จะมีต่อการใช้นโยบายทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละครั้งด้วย ดังนั้นนางลาการ์ดจึงน่าจะต้องขุดเอาทักษะทางด้านการทูตมาใช้เพื่อแก้ไขความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ให้สำเร็จให้ได้