มาแล้วค่ะ อิป้าหามาเล่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังจากนี้จะเป็นเช่นไรกันบ้าง จากกับดักโควิด-19 ระลอกใหม่ครั้งนี้ เพราะเชื่อว่าหลายคนก็มีคำถามอยู่ในหัวว่าเราจะไปในทิศทางใดกันได้บ้าง ด้วยตัวเลขที่มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ไม่รู้จะไปจบลงตรงไหน
และวัคซีนก็ยังมาไม่ถึงสักที เศรษฐกิจไทยในตอนนี้มีอาการเป็นอย่างไรกันบ้าง เรากำลังจะผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้วหรือยัง ผลกระทบที่เกิดการการระบาดที่เกิดขึ้นในครึ่งปีแรกเป็นอย่างไรกันบ้าง วันนี้ดิฉันมีกูรูมาไขข้อข้องใจกันค่ะ
โดยดร.สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้เริ่มเปิดประเด็นว่า จะเห็นได้ว่าการประมาณการ การติดเชื้อจริง ๆ แล้ววิจัยกรุงศรีฯ ทำเอาไว้เมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ที่แล้ว เรามองว่าเดือนตุลาคม นี้ น่าจะเห็นตัวเลขที่น้อยลง สถานการณ์เปลี่ยนไป
ซึ่งปัจจุบันเราเห็นตัวเลข 9,000 รายต่อวัน จากการลายพันธุ์เป็น Delta เหมือนที่เจอในประเทศอินเดีย และ South Africa รวมถึงประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงถึงร้อยละ 50 สำหรับ sinovac ล็อตแรก ช่วงเดือนเมษายน 2563
ทั้งนี้จึงมองว่า กิจกรรมภายในประเทศยังคงไม่สามารถเปิดได้ในช่วงนี้ เพราะเรากำลังอยู่ใน Worst case Scenario แต่อย่างไรก็ตาม ในข่าวร้ายก็มีข่าวดี หากเรามองไปนอกประเทศขณะนี้ มีความสว่างมากว่าประเทศไทยมาก ทำให้เศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัวได้เป็นอย่างดี แม้กระทั่งประเทศจีนที่มีการฟื้นตัวไปแล้วจนย่อลงมาบ้าง จากการกำกับนโยบายลงมาช่วยเหลือ
สำหรับปัจจัยภายนอกที่จะเข้ามาสนับสนุนนั่นก็คือ กำลังซื้อมาจากสินค้าส่งออกที่เริ่มขายดีมากขึ้น แต่การให้บริการ รวมถึงการท่องเที่ยวยังไม่ดีมากนัก ในตอนแรกคาดว่า จะมีนักท่องเที่ยวประมาณ 8 ล้านคน
แต่ขณะนี้วิจัยกรุงศรีฯ หั่นเหลือ 210,000 คน ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลมาจากคนที่ติดเชื้อเพิ่มเป็น 8,000-9,000 คนต่อวัน นักท่องเที่ยวต่างชาติเองก็อาจจะยังไม่มาในช่วงนี้ แต่อาจจะท่องเที่ยวกันในประเทศ หรือประเทศข้างเคียง ซึ่งก็ยังไม่น่าจะใช้ประเทศไทยในขณะนี้
นอกจากนี้แล้วการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้ส่งออกได้รับแรงบวกเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในภาคการผลิต ส่วนบนถึงล่างมีการกระจายตัวมากขึ้นเมื่อเป็นเช่นนั้น การส่งออกจะเพิ่มขึ้น กำลังการผลิตตอนนี้ประมาณร้อยละ 65
โดยจะมีการลงทุน Private ดีอย่างต่อเนื่อง แต่การบริโภคภายในยังไม่ดีมองไปยาวขึ้น supply โลกเปลี่ยนแปลงไป เป็น Robot , Automation ทำให้เกิดการลงทุนใหม่
อย่างไรก็ตาม หากไวรัสโควิด-19 ยังคงอยู่ไปจนถึงสิ้นปี 2564 Sector ที่ได้รับผลกระทบจากสิ้นปี63 จนถึงสิ้นปี64 ได้แก่ Air transportation ปี 2563 อยู่ที่-55% ลงมาเหลือ -38% นอกจากนี้ผู้ที่มีรายได้น้อยต่ำกว่า 15,000 - 20,000 บาท จะได้รับผลกระทบ
ส่วน sector ที่ยังไปได้ต่อในช่วงนี้มี 7 อุตสาหกรรม ที่ติด TOP15 เช่น ปิโตรเคมี ยาง พลาสติก Healthcare Wholesales ซึ่งการหาคนซื้อเราต้องหาคนมาช่วยผลิตด้วย เช่น auto ก็หาต้องหาพาร์ตเนอร์ในด้านของเทคโนโลยีด้วย
ขณะที่ ดร.กิริฏา เภาวิจิตร ผู้อำนวยการวิจัย นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการพัฒนา และผู้อำนวยการโครงการวิเคราะห์เศรษฐกิจเชิงลึก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้บอกเพิ่มเติมว่า ในขณะนี้ต้องยอมรับว่า ผลกระทบค่อนข้างลึก
โดยเฉพาะกระทบต่อคนรายได้น้อย และบริษัทขนาดเล็ก และกระทบในภาคบริการ การท่องเที่ยว เช่น ค้าปลีก ร้านอาหาร ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 70 ของ GDP ซึ่งดึงเศรษฐกิจไทยลงไปด้วย ซึ่งได้คาดการณ์ประมาณการเติบโตของ GDP เมื่อต้นปีไว้ที่ร้อยละ 2 แต่ ณ ขณะนี้ให้ดีสุดปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.5
เนื่องจากการท่องเที่ยวโดนเยอะ รวมถึงธุรกิจ SME ด้วย ขณะเดียวกันบริษัทที่อยู่รอดได้อาทิ Digital Technology, Mobile banking , Telemedicineจะเป็นบริษัทที่ได้ประโยชน์ รวมถึงบริษัทที่ทำความสะอาดเช่น เจลล้างมือ
ขณะที่ธุรกิจเกี่ยวกับส่งออกปีนี้คาดว่าจะสามารถเติบโตได้อีกร้อยละ 10 หลังจากที่ตัวเลขของเดือนพฤษภาคมที่่ผ่านมา มีมูลค่าส่งออกมากกว่าช่วงก่อนโควิด-19 แต่ส่วนที่ส่งออกได้น้อยในขณะนี้ได้แก่ ข้าว และปลากระป๋อง
ทั้งนี้ในส่วนของประเทศที่เริ่มมีการฟื้นตัวได้ดี เช่น สหรัฐฯ จีน ออสเตรียเลีย ยุโรป และประเทศที่เริ่มฟื้นกลับมาลงทุนได้แล้ว ซึ่งสามารถส่งออกได้ดี
แต่อย่างไรก็ตาม แต่เศรษฐกิจโลกจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว แต่ปัญหาสงครามการค้าก็ยังมีอยู่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย รวมถึงการแข่งขันด้านเทคโนโลยีของทั้งสองประเทศ ระหว่างจีนกับสหรัฐฯด้วย
นอกจากนี้ก่อนที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย อาจจะมีการลดการอัดฉีดเงินลง และจะเริ่มพิมพ์เงินน้อยลงในต้นช่วงปี 2565 จึงทำให้ขณะนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเพราะต้องปั้มเงินเยอะ ดังนั้นทิศทางค่าเงินบาท 31-32 บาท
อย่างไรก็ตามในส่วนของประเทศไทยเองยังคงต้องดูการขับเคลื่อนจากทางภาครัฐในส่วนของค่าใช้จ่าย ประเทศไทยเรายังมีเงินเหลืออยู่จาการที่ได้กู้มาก่อนหน้านี้ 500,000 ล้านบาท และได้เบิกจ่ายออกมาใช้ประมาณ 300,000 ล้านบาท ก็ยังมีเงินเหลืออยู่ ฉะนั้นรัฐบาลก็ยังมีเงินที่จะเข้ามาสนับสนุนในภาคต่าง ๆ ให้กับประชาชนได้
ด้านคุณวิน พรหมแพทย์, CFA ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานลูกค้าไฮเน็ตเวิร์ธ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้บอกว่า ถ้าเราได้รับวัคซีนเร็วขึ้น ก็สามารถไปใช้ชีวิตข้างนอกได้เร็วขึ้น
แต่ปัจจุบันคนยังติดเป็นจำนวนที่เยอะอยู่ เมื่อเทียบกับประเทศอังกฤษที่ได้รับวัคซีนแล้ว ทำให้มีการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำแม้ว่าอาจจะมีการติดเชื้อบ้างก็ตาม
และหากมองการลงทุนในหุ้นโลกขณะนี้มีการปรับขึ้นจากการปรับฐานจาก QE Tapering และระหว่างรอซื้อหุ้นปรับฐาน การลงทุนในตราสารหนี้ขณะนี้ก็มีความน่าสนใจ
เพราะตราสารหนี้ไทยให้ผลตอบแทนขึ้นมาพอสมควร โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 - 5ปี ภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งในปีนี้ต่างชาติซื้อตราสารหนี้ราวกว่า 70,000 ล้านบาท
สำหรับกองทุน KFSPLUS มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงต่ำ ลงทุนระยะสั้น ส่วน KFSMART ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ลงทุนระยะกลาง
ขณะที่ KFAFIX ความเสี่ยงสูงสุด แต่ผลตอบแทนระยะยาวสูงกว่าสองกองบน ทั้งนี้การลงทุนกองทุนตรารหนี้ควรลงอย่างน้อย 1 ปี จะได้ผลตอบแทนดี
ขณะที่การลงทุนในหุ้นนั้น มองว่าประเทศไทยเองยังคงพึ่งการท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่ในช่วงนี้จึงทำให้การฟื้นตัวช้ากว่าโลก 15% แต่ก็มองว่าไม่เกินสิ้นปีดัชนี้น่าจะปรับขึ้นมาอยู่ที่ 1,700 จุดได้ แม้ว่าช่วงนี้จะมีความผันผวนบ้างก็ตาม
สุดท้ายนี้อิป้าก็ต้องขอกราบขอบพระคุณ คุณวิน พรหมแพทย์ ที่ได้ให้เข้าร่วมฟังสัมมนาดี ๆ ในครั้งนี้นะคะ ซึ่งได้มุมมองและเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ เป็นอย่างมาก
และอิป้าก็ขอเอาใจช่วยประเทศไทยของเราให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ได้ด้วยดี และหวังว่าผู้นำประเทศทั้งหลายจะสามารถบริหารจัดการให้ได้โดยเร็วและทั่วถึงโดยเฉพาะกับผู้ที่มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบให้ได้มากที่สุดนะคะ...วันนี้ไปล่ะค่ะ...บ๊ายยย
บทความนี้จัดทำโดย อิป้าหามาเล่า - E'pa hamalao ล้วงลึกทุกการลงทุน หุ้น กองทุนรวม