ประเทศต่างๆทั่วโลกทุ่มเงินกันไปเท่าแล้วบ้างเพื่อต่อสู้กับวิกฤตไวรัสโควิด-19 นี้ ?
เศรษฐกิจทั่วโลกนั้นกำลังโดนกระทบจากไวรัสโควิด-19 กันอย่างถ้วนหน้า และแน่นอนว่าปีนี้โลกของเราคงนี้ไม่พ้น Recession หรือภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ตอนนี้ตัวเลข GDP ของโลกในปีนี้ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้คือติดลบ -3% ทั้งโลกโดยรวม
แต่ตัวเลขเศรษฐกิจนี้จะออกมาดีหรือแย่กว่าที่คาด ? จะมีประเทศไหนที่ออกมาดีกว่าหรือแย่กว่าที่คาด ?
ทั้งหมดนั้นก็ขึ้นอยู่กับ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของแต่ละประเทศว่าเพียงพอและได้ผลหรือไม่ ซึ่งทางเราได้รวบรวมมาให้แล้วในโพสต์นี้
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆนั้นจะแบ่งออกได้เป็น 2 ภาคใหญ่ๆก็คือ Monetary policy กับ Fiscal Policy
1. Monetary policy คือ นโยบายการเงิน - ที่กำหนดโดยธนาคารกลางต่างๆของโลก
2. Fiscal Policy คือ นโยบายการคลัง - คือเงินช่วยเหลือกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลหรือกระทรวงการคลัง
โดยนโยบายทั้งสองอย่างนั้นต้องสอดคล้องกันถึงจะทำให้เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนได้ จะมีแค่อย่างเดียวไม่ได้ เพราะหากธนาคารกลางลดดอกเบี้ยเพื่อให้เกินสภาพคล่องในตลาด ช่วยต่ออายุบริษัทต่างๆที่มีภาระหนี้สิน แต่สุดท้ายหากบริษัทต่างหรือประชาชนยังไม่มีเงินหรือรายได้มาชดเชยจากสิ่งที่ขาดหายไปเพราะการ Lock Down การใช้จ่ายก็จะไม่เกิดขึ้น เศรษฐกิจก็จะไม่ครบวงตรและไม่เดินหน้าต่อไป ทางรัฐบาลจึงต้องอัดฉีดเงินเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไปอีกแรง
ประเทศไหนดูแล้วทุ่มแรงกระตุ้นเยอะที่สุด ?
ทางด้านนโยบายการเงินฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว (ชื่อต้นๆ) จะเห็นได้ชัดเลยว่าลดดอกเบี้ยกันจนเป็นศูนย์หรือติดลบหมดแล้วเรียกได้ว่าทุ่มกันสุดๆ เท่านั้นยังไม่พอยังต้องมีการเข้าซื้อพันธบัตรเพื่อเพิ่มสภาพคล่องด้วย ส่วนทางประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่นั้นยังพอเหลือดอกเบี้ยให้ลดอยู่อีกพอสมควร
ทางด้านนโยบายการคลังหลายคนอาจจะตกใจกับตัวเลขของทางสหรัฐ ที่รัฐบาลทรัมป์อัดฉีดช่วยเหลือไปแล้วกว่า 2 ล้านล้านเหรียญ ! มากที่สุดในโลกเลย แต่ถ้าไปดูเป็น % ของ GDP แล้วยังแต่พอๆกับแคนาดาที่ 10% ยังเทียบไม่ได้กับญี่ปุ่นเลยที่อัดฉีดเข้าไป 20% ของ GDP แล้ว !
ซึ่งแน่นอนประเทศไหนยิ่งทุ่มเงินเยอะก็จะกลายเป็น ภาระหนี้ที่รัฐบาลต้องหากลับมามากขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นจากรายได้ที่มากขึ้นของประเทศหรือผ่านการเก็บภาษี
บทวิเคราะห์นี้เผยแพร่ครั้งแรกที่เพจ Oil Trading - ทันตลาดน้ำมันและเศรษฐกิจโลกกับ KP