อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล - ความคาดหวังอัตราเงินเฟ้อ = อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง
Dollar Index = ความเชื่อมั่นในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
อัตราส่วนราคาทองคำต่อราคาเงิน
ค่า Correlation
คือ 4 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดแนวคิดการลงทุนตามหัวข้อ
เดิมทีนั้น ทองคำและแร่เงิน ใช้เป็นสินทรัพย์อ้างอิงในการพิมพ์เงิน หรือไม่ก็ใช้แทนตัวเงินไปเลยมาก่อน ส่งผลให้ทั้ง 2 สินทรัพย์นี้มักเคลื่อนไหวตามกันเป็นเรื่องปรกติ เนื่องจากสุดท้ายแล้วในอดีตเราจะต้องนำ "เงิน" ซึ่งเป็นเสมือนสกุลเงินตราหนึ่งไปแลกเป็น "ทอง"
ทำให้แร่เงินนั้นมีคุณสมบัติในการเป็น 1 สินทรัพย์ที่ป้องกันอัตราเงินเฟ้อได้ ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าได้ และ เป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่าได้ และด้วยความที่เดิมทีนั้นเราใช้ "เงิน" ไปซื้อ "ทอง" นี่เอง ทำให้เกิดการเปรียบเทียบความถูกหรือแพงของทองคำชึ้นมาเมื่อเทียบกับเงิน
ซึ่งโดยมากแล้วนั้นมักจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 59 เท่า แต่ในโลกยุคใหม่ หลังวิกฤติซับไพรม์ อัตราส่วนดังกล่าวก็ลงไปแตะระดับต่ำสุดที่ 33 เท่า
เนื่องจากราคาเงินนั้นปรับขึ้นกว่า 2.2 เท่า ขณะที่ทองคำปรับขึ้นเพียง 87% เท่านั้น
แต่หลังจากนั้นเมื่อเศรษฐกิจเริ่มกลับมามีแนวโน้มดีมากขึ้นไปพร้อมๆกับการแข็งค่าของ Dollar Index สร้างแรงกดดันต่อ ทองคำและเงินให้ปรับตัวลง
ซึ่งคราวนี้แรงเทขายเกิดขึ้นในเงินมากกว่า ส่งผลให้เงินปรับตัวลงลงมาแตะระดับ 11.50 ดอลลาร์ นับเป็นการปรับตัวลงถึงถึง 70% นับตั้งแต่ช่วงพีคในปี 2011 ที่ระดับ 48 ดอลลาร์
ขณะที่ทองคำนั้นปรับตัวลงจาก 1,900 ดอลลาร์ มาแตะระดับต่ำสุดประมาณ 1,050 ดอลลาร์ คิดเป็นการปรับเพียง 45% ซึ่งน้อยกว่าการปรับตัวลงของเงิน อัตราส่วนดังกล่าวก็เลยกลับมากว้างขึ้นเป็นปรกติอีกครั้ง
และก็กว้างขึ้นเป็นประวัติการณ์อีกครั้งในช่วงปัญหาการส่งมอบทองคำในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ที่อัตราส่วนดังกล่าวนั้นดีดขึ้นไปแตะระดับ 124 เท่า
ซึ่งหากคิดตามกฏของ Mean Reversal หรือการกลับเข้าหาค่าเฉลี่ยแล้ว นั่นจะหมายถึง เงินมีโอกาสที่จะกลับมาสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าทองคำมากในช่วงหลังจากจุดสูงสุดวันนั้น
ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อนับจากวันที่อัตราส่วนดังกล่าวห่างกันมากที่สุดคือ 18 มีนาคมที่ที่ผ่านมา จนถึงวันศุกร์ที่ผ่านมา จะพบว่าทองคำนั้นปรับตัวขึ้นเพียง 17.34% เท่านั้น ขณะที่เงินปรับขึ้นถึง 38.65%
ซึ่งการปรับตัวขึ้นที่ต่างกันเพียงแค่ 21% นั้นไม่ยังไม่ช่วยให้อัตราส่วนเงินและทองคำกลับมาสู่ภาวะปรกติ หรือใกล้เคียงปกติแต่อย่างใด
นั่นหมายถึง ในช่วงเวลานี้ เงินมีแนวโน้มจะมี Downside ที่น้อยกว่าทองคำ และมี Upside ที่มากกว่าด้วย หากอิงกับอัตราส่วนดังกล่าว ทำให้เงินก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เราก็ลองไปดูแนวโน้มของทองคำกัน
พบว่าทองคำนั้นอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอย่างชัดเจน มาตั้งแต่ช่วงสิงหาคมปี 2018
ก่อนที่จะมาทะลุแนวต้านที่ 1,730 ซึ่งทำ Pattern ธงมานานกว่า 1 เดือนได้เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทั้งจากปัจจัยของความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่กลับมาอีกครั้ง ความพยายามถือครองทองคำเพื่อเป็นสภาพคล่อง
และอิก 1 ปัจจัยที่สำคัญก็คือ อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (Real Yield) ซึ่งก็หมายถึงอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลลบด้วยอัตราเงินเฟ้อ หรือ ความคาดหวังอัตราเงินเฟ้อในอนาคตก็ได้
หาก Real Yield ทีแนวโน้มสูงขึ้น ทองคำก็จะดูน่าสนใจน้อยลง จากการที่มีสินทรัพย์อื่นสามารถทำหน้าที่รักษาอำนาจการซื้อไว้ได้ดีกว่า หรือใกล้คียง ซึ่งในที่นี้ก็คือตราสารหนี้นั่นเอง
ซึ่งในช่วงนี้นั้น แม้ COVID-19 ประกอบกับราคาน้ำมัน จะสร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ หรือ ความคาดหวังอัตราเงินเฟ้อในอนาคตให้ลดลง จากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และราคาน้ำมันที่ตกต่ำ
แต่ถึงอย่างนั้น อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ กลับลบแรงกว่า แซงหน้าไปเสียฉิบ ส่งผลให้ Real Yield ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีนั้นลดลงสู่ระดับติดลบอีกครั้ง ซึ่งหากภาวะดอกเบี้ยต่ำนี้ยังอยู่ ไปพร้อมๆ กับความคาดหวังว่าเศษรฐกิจจะฟื้นตัวในอนาคตไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นปัจจัยบวกอย่างยิ่งให้ทองคำมีความน่าสนใจต่อไป แม้ Dollar Index จะอยู่เหนือ 100 จุดก็ตาม
ซึ่งจริงๆแล้ว หากสภาวะเป็นเช่นนี้ การที่ Dollar Index แข็งค่าเหนือ 100 จุดอาจจะเป็นเรื่องดีกับทองมากกว่าก็เป้นได้ ขอแค่เพียงการแข็งค่าของ Dollar Index นั้นมาจากแรงเข้าซื้อในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นจำนวนมากเพื่อกดอัตราผลตอบแทนให้ต่ำต่อไปเรื่อยๆ คู่ไปกับความคาดหวังเงินเฟ้อที่ไม่ลดลง ซึ่งจะทำให้ Real Yield ต่ำต่อเนื่องไปอีกทอด
หลายๆท่านอาจถามถึง เอ๊ะ แล้วเรื่อง Demand และ Supply จากภาคอุตสาหกรรมจะไม่พิจารณาเลยหรือ ก็ต้องบอกว่า เท่าที่ดูมา ในช่วงนี้นั้น ราคาทอง ไม่ตอบรับต่อ Demand ที่ลดลงจากฝั่งอินเดียและจีน ซึ่งเป็น 2 เจ้าใหญ่ที่ซื้อทองคำในฐานะเครื่องประดับแม้แต่น้อยเลย ดังที่ได้กล่าวถึงในบทความนี้ (https://www.facebook.com/aknblog/posts/2810006775719582)
ซึ่งหากความเชื่อนี้เป็นจริง ราคาทองคำในระยะกลางก็น่าจะไปได้ต่ออีกไม่น้อย จะไปจบที่จุดสูงสุดเดิม หรือ ทำจุดสูงสุดใหม่ ก็ต้องลุ้นกันอีกที
หากแต่ราคาเงินอาจวิ่งได้ไวกว่า ล้มช้ากว่า จึงน่าสนใจกว่าเท่านั้นเอง....
บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่เพจ AKN Blog
ดูกราฟสินค้าโภคภัณฑ์