🟢 ตอนนี้ตลาดกำลังทะยานขึ้น สมาชิกผู้ใช้บริการของเรากว่า 120K คน ต่างรู้ดีว่าควรทำอย่างไร คุณก็สามารถรู้ได้เช่นกันรับส่วนลด 40%

ศูนย์วิจัยกรุงศรีชี้วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้แตกต่างจากครั้งที่ผ่านๆมา

เผยแพร่ 23/06/2563 08:39
© Reuters.

โดย Detchana.K

Investing.com - ศูนย์วิจัยกรุงศรีเผยถึงวิกฤตทางเศรษฐกิจที่ทั่วโลกเผชิยอยู่ในขณะนี้โดยระบุว่า วิกฤตเศรษฐกจิครั้งนี้ แตกต่างจากครั้งที่ผ่านๆ มา และการฟื้นตัวอาจประสบกับความเสี่ยงจากการระบาดระลอกสอง

เอดีบีคาดเศรษฐกิจอาเซียนหดตัว ส่วนไอเอ็มเอฟมองเศรษฐกิจโลกเผชิญความยุ่งยากในการออกจากวิกฤต ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียในปี 2563 จะขยายตัวเพียง 0.1% ต่ำสุดนับแต่ปี 2504 โดยคาดว่าจะไม่ได้ฟื้นตัวได้เร็วแบบตัววี

สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น GDP อาจหดตัว 2.7% ในปี 2563 โดยเศรษฐกิจไทยหดตัว หนักสุดในภูมิภาคที่ 6.5%  ขณะเดียวกันกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มหดตัวแรงกว่าที่เคยคาดไว้ วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ ยังต่างไปจากครั้งที่ผ่านมาเนื่องจากการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคบริการ รุนแรงกว่าในภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งภาวะถดถอยยังเกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก

ขณะที่ ภาครัฐต่างออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งมโหฬาร แต่อัตราเงินเฟ้อกลับลดลง รวมทั้งมีปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างภาคการเงินกับภาคการผลิต โดยภาคการเงินกลับฟื้นตัวได้เร็ว ขณะที่อีกหลายส่วนของภาคการผลิตยังคงหดตัว การจัดการกับวิกฤตครัง้นีย้ังจะต้องเผชิญกับความท้าทายอีกหลายประการ ได้แก่


(i) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อลดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม รวมถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายทำให้การใช้มาตรการกระตุ้นการบริโภคขาดประสิทธิผลการฟื้นตัวของภาคบริการยังล่าช้าอันจะส่งผลกระทบระยะยาวต่อภาคเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาภาคบริการ เช่น การท่องเที่ยว

(ii) การลดลงของ อัตราเงินเฟ้อและอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์เนื่องจากความอ่อนแอของอุปสงค์ และการว่างงานในระดับสูง และ

(iii)การฟื้นตัวของภาคการเงินมิได้เกิดจาก ปัจจัยพื้นฐานแต่เกิดจากการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ความไม่แน่นอนของการ แพร่ระบาดอาจสร้างความผันผวนต่อตลาดการเงิน ราคาสินทรัพย์ปรับตัวลง ซึ่งโดยภาพรวมสะท้อนว่าเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังเต็มไปด้วย ความไม่แน่นอนสูง

ภาวะเศรษฐกิจของประเทศหลักเริ่มปรับดีขึ้น แต่ยังมีความเสี่ยงจาก การระบาดระลอกสอง

ในสหรัฐฯ ดัชนีเศรษฐกิจปรับตัวเพิ่มขึ้น อาทิ ดัชนีความ เชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์กในเดือนมิถุนายน รวมทั้ง ยอดค้าปลีกในเดือนพฤษภาคม (-6.1%YoYเทียบกับ -19.9% ในเดือนเมษายน) ขณะที่เฟดได้ประกาศขยายขอบข่ายโครงการ Secondary Market Corporate Credit Facility (SMCCF) เพื่อให้สามารถเข้าซื้อหุ้นกู้ของบริษัทเอกชนได้ถึง 7.5 แสนล้าน ดอลลาร์ สะท้อนถึงการอัดฉีดสภาพคล่องในตลาดแก่บริษัทขนาดใหญ่ซึ่งยังได้รับผลกระทบอย่างหนัก

ในเยอรมนี ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเพิ่มต่อเนื่องเป็นเดือน ที่ 3 ในเดือนมิถุนายน ส่วนในจีนดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้น (+4.1% เทียบกับ +3.9% ในเดือนเมษายน และอัตราว่างงานในเขตเมืองเดือน พฤษภาคมลดลงเล็กน้อยสู่ 5.9% จาก 6.0% ในเดือนเมษายน

แม้ว่าดัชนีเศรษฐกิจ ของประเทศสำคัญทยอยขยับดีขึ้นบ้างแต่ยังคงเผชิญปัญหาหนัก โดยล่าสุด จำนวนผู้ขอรับสิทธิสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องของสหรัฐฯสิ้นสุดวันที่ 6 มิถุนายนยังสูงกว่าตลาดคาดโดยอยู่ที่20.5 ล้านราย นอกจากนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในหลายประเทศมีความรุนแรงขี้น โดยจำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯเพี่มมากขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์และการ ชุมนุมประท้วงทั่วประเทศ

ขณะที่ประเทศจีนพบการระบาดระลอกใหม่ โดยเฉพาะในกรุงปักกิ่งซึ่งเป็นเมืองหลัก ส่วนในอินเดียจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นมาก สำหรับในเยอรมนีได้พบการแพร่ระบาดเป็นกลุ่ม
ก้อนอีกครั้ง ด้านนิวซีแลนด์ซึ่งเคยควบคุมการระบาดได้ดีนั้นกลับพบผู้ป่วยใหม่เดินทางเข้าประเทศ นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกเตือนว่าภูมิภาคละตินอเมริกาและ แอฟริกากา ลังกลายเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดเเห่งใหม่แม้ว่าหลายประเทศ ในภูมิภาคเหล่านีย้ังมีข้อจำกัดของระบบสาธารณสุข ปัญหาดังกล่าวอาจทำให้ หลายประเทศต้องกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์และเพ่ิมความเข้มงวดในการ เว้นระยะห่างทางสังคมซึ่งอาจนำไปสู่การเลิกจ้างงานระลอกใหม่อันจะเป็น อุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้ล่าช้าออกไปอีก

บทวิเคราะห์จาก ศูนย์วิจัยกรุงศรี

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย